Page 43 - 21736_Fulltext
P. 43
22
ด้วยตนเอง แม้ว่าจะใช้กระบวนการที่เน้นการตัดสินใจจากคู่กรณีเป็นหลัก ก็อาจขอให้ผู้ไกล่เกลี่ยช่วย
ชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาข้อพิพาทให้ ถ้าเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ยนอกศาลยุติธรรมจะมีชื่อเรียกว่า
“Med-Arb” ย่อมาจากคำว่า Mediation และ Arbitration ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นด้วย
กระบวนการไกล่เกลี่ย แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้ผู้ไกล่เกลี่ยช่วยชี้ทางออก
ในการแก้ไขปัญหาให้
การจะเลือกใช้วิธีการใดในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางถึงจะเหมาะสมคงจะไม่สามารถ
บอกได้ แต่คงขึ้นอยู่กับผู้ไกล่เกลี่ยแต่ละกรณี ว่าจะเลือกใช้วิธีการแบบใด การใช้ทางเลือกใดยังขึ้นอยู่
กับ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี 2) บริบทของความขัดแย้ง 3) ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 4) ความ
เข้มข้นของความขัดแย้งว่ามากหรือน้อย ถ้าความขัดแย้งน้อยคู่กรณีก็จะห่วงเรื่อง” การซ่อมรั้วของ
ตนเอง” ไม่ต้องการให้คนอื่นมาช่วย 5) ประเภทความขัดแย้งเป็นประเด็นคุณค่า อุดมการณ์ ซึ่งไกล่
เกลี่ยได้ยากกว่าขัดแย้งในเรื่องข้อมูลที่แตกต่าง 6) ตำแหน่งและอัตลักษณ์ของผู้ไกล่เกลี่ย เป็นผู้ไกล่
เกลี่ยที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐ หรือองค์การพัฒนาเอกชน มีชื่อเสียงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการไกล่เกลี่ย
โดยคนกลางก็อาจจะผสมผสานทั้ง 2 แนวทางนี้ได้ รูปภาพที่ 2.5 เป็นภาพที่ Coltri (2004) ได้
นำเสนอไว้ในประเด็นประเภทของผู้ไกล่เกลี่ย
ภาพที่ 2.5 การไกล่เกลี่ย 2 ประเภท จาก ที่มา: Coltri, 2004: 376
ภาพที่ 2.6 เป็นการสรุปถึงบทบาทหน้าที่และยุทธวิธีของคนกลาง บทบาทหน้าที่ของ
คนกลาง ประกอบด้วย 1) ความสมัครใจ 2) การให้คู่กรณีตัดสินด้วยตนเอง 3) ช่วยให้คู่ไกล่เกลี่ย
หาทางออกที่ตอบสนองความต้องการทุกฝ่าย 4) ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง และ 5) รักษาความลับ
สำหรับยุทธิวิธีของคนกลางในการไกล่เกลี่ยแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ 1) อำนวยการประชุม ที่เรียกกันว่า
“คุณอำนวย” และ 2) ประเมิน ที่เรียกกันว่า “คุณอำนาจ”