Page 26 - 22373_Fulltext
P. 26
ท้องถิ่นจึงมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเฉพาะในพื นที่ ปัญหาซึ่งเป็นความต้องการเฉพาะแห่ง และ
สามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว ประการที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะสร้างความ
เชื่อมโยงกิจกรรมทางการศึกษากับปัญหาอื่น ๆ ในสังคมท้องถิ่น เพราะสามารถน้าปัญหาที่เกิดขึ นจริงในชุมชน
มาสร้างเป็น “ห้องปฏิบัติการทางสังคม” (Social lab) แล้วน้าไปจัดการศึกษาให้เด็กได้เรียนรู้และท้าความ
เข้าใจชีวิตผ่านปัญหาของชุมชนและวิถีชีวิตจริงของคนในพื นที่
ด้วยเหตุนี วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จึงจัดให้มีโครงการวิจัยขับเคลื่อน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าในพื นที่ ดังนั นการศึกษาวิจัยนี จึงออกแบบให้เป็น
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างความ
เสมอภาคทางการศึกษา และเพื่อขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ด้าเนินโครงการเสริมสร้างความ
เสมอภาคทางการศึกษาในพื นที่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหรือลดช่องว่างความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษาที่เกิดขึ น
ในพื นที่ของตน ทั งนี วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นคาดว่า การศึกษาวิจัยครั งนี จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนส้าคัญของรัฐบาลในการสร้างความเสมอภาคทางสังคม
ในพื นที่ของตน รวมทั งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นที่จะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
หรือได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ นต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
1.2.1 เพื่อเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
1.2.2 เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้าเนินโครงการเสริมสร้างความเสมอภาคทาง
การศึกษาในพื นที่
1.3 ทบทวนวรรณกรรม
แนวคิดและทฤษฎีที่น้ามาใช้เป็นกรอบในการศึกษาครั งนี ได้แก่ สิทธิของเด็กและเยาวชนที่จะได้รับ
การศึกษาในระดับสากล สิทธิของเด็กและเยาวชนในการได้รับการศึกษาในระดับประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับการ
สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา และแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษากับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า
1.3.1 สิทธิของเด็กและเยาวชนที่จะได้รับการศึกษาในระดับสากล
ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิเด็กได้รับการรับรองโดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งอยู่
ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ให้นิยาม “เด็ก” ว่าเป็นมนุษย์ทุกคน
ที่มีอายุต่้ากว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั นตามกฎหมาย (ส้านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ, ม.ป.ป)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมีสาระส้าคัญเรื่องสิทธิของเด็กทั งหมด 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะ
มีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม แต่เมื่อพิจารณา
2 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า