Page 31 - 22373_Fulltext
P. 31

1.3.3 แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา


                          จากการศึกษาความหมาย ความไม่เสมอภาค และผลกระทบจากความไม่เสมอภาคทางการศึกษา
                รวมถึงแนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาพบว่า

                          1) ความหมาย  พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มาตรา 3

                ได้ให้ความหมายของความเสมอภาคทางการศึกษาว่าหมายถึง การที่ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับและเข้าถึง
                การศึกษาและพัฒนาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง โดยให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ลดความเหลื่อมล ้า

                ในการศึกษา รวมทั งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และนิยามค้าว่าความเหลื่อมล ้าทางการ
                ศึกษาว่าหมายถึง ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาอันเนื่องมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา

                คุณภาพหรือประสิทธิภาพครู หรือฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม (ราชกิจจานุเบกษา, 2561)

                          ทั งนี ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (ส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
                แห่งชาติ, 2561) มีประเด็นยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา ได้แก่

                ประเด็นที่ 4 ว่าด้วยการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยเป้าหมายข้อที่ 4.1.7 สร้างความเป็น
                ธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา โดยเฉพาะส้าหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มด้อยโอกาส

                ในส่วนด้านการศึกษาจะเน้นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเป็นมาตรฐานเสมอกัน
                โดยเน้นในพื นที่ห่างไกล ทุรกันดารและยากจน และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ อีกทั งระบุให้มี

                การจัดมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล ้าทางการศึกษา โดยสนับสนุนผ่านกลไกความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ
                เพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับจังหวัด นอกจากนี ยังสนับสนุนแนวทางในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

                และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมของคนทุกกลุ่ม รวมถึงระบบติดตามสนับสนุนและประเมินผล
                เพื่อสร้างหลักประกันสิทธิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของประชาชน


                          ส่วนกรอบแนวทางวาระการปฏิรูปการศึกษาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทน
                ราษฎร, 2557) สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เสนอสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปด้านการศึกษาซึ่งแบ่ง

                ออกเป็น 5 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาครู ปัญหาการเรียนรู้ ปัญหาระบบการบริหารจัดการ ปัญหาการกระจายโอกาส
                และคุณภาพการศึกษา และปัญหาการผลิตและพัฒนาก้าลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยมุ่งเร่งแก้ปัญหา

                การเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการเพื่อให้ได้ความเสมอภาคและความเท่าเทียมตาม
                กฎหมาย ทั งนี สภาปฏิรูปแห่งชาติได้พิจารณาถึงแนวทางแก้ไขปัญหาไว้ดังนี  (1) ก้าหนดแผนปฏิบัติงานโดยใช้           การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
                เด็กเป็นศูนย์กลาง (Child center) โดยให้หน่วยงานทุกหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาสและ

                เด็กพิการบูรณาการการท้างานร่วมกัน โดยใช้ช่วงอายุของเด็กแต่ละช่วงวัยเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากร

                ที่ต้องได้รับตามสิทธิอย่างครบถ้วน รวมไปถึงทรัพยากรตามความจ้าเป็นเหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก
                นอกจากนี สภาปฏิรูปยังเสนอให้มีการจัดตั งคณะกรรมการกลางเพื่อท้าหน้าที่ดูแลและประสานงานการจัด
                การศึกษาส้าหรับเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการ  (2) จัดเก็บฐานข้อมูลของเด็กด้อยโอกาสและพิการเพื่อให้

                หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องสามารถน้าข้อมูลไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ทั งนี ฐานข้อมูลจะต้องมีมาตรฐาน
                เดียวกันทั งหมดเพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงสืบค้นข้อมูล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลต้องมีความบูรณาการ

                กันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส้านักงานทะเบียนราษฎร์ และหน่วยงานภาคเอกชน โดยมีกระทรวง





                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   7
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36