Page 27 - 22373_Fulltext
P. 27

ในด้านการศึกษา อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั นได้บัญญัติแนวทางการให้การศึกษาแก่เด็กในข้อ 28 และข้อ 29

                ซึ่งมีเนื อหาโดยสรุปดังนี  (ส้านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ม.ป.ป)

                          ข้อ 28 รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กในการได้รับการศึกษา โดยรัฐจะต้องจัดการศึกษาระดับ ประถม

                เป็นภาคบังคับซึ่งเด็กทุกคนสามารถเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รัฐจะต้องสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาในระดับ
                มัธยมศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงสายสามัญและสายอาชีพ โดยจะต้องจัดการศึกษาให้แพร่หลายและเปิดกว้างแก่
                เด็กทุกคน รวมไปถึงรัฐจะต้องด้าเนินการสนับสนุนการเข้าเรียนของเด็กและลดอัตราการออกจากโรงเรียน

                กลางคัน  โดยการด้าเนินการของรัฐในการให้การศึกษาจะต้องสอดคล้องกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของเด็ก

                และสอดคล้องกับอนุสัญญานี  และรัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับ
                การศึกษา เพื่อที่จะช่วยกันต่อการพัฒนาองค์ความรู้และวิธีการสอนสมัยใหม่

                          ข้อ 29 รัฐภาคีจะพัฒนาการศึกษาเด็กโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กได้พัฒนาบุคลิกภาพ ความ

                สามารถพิเศษ และความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน ให้เด็ก
                ได้พัฒนาความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั นพื นฐานที่ถูกระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ ให้เด็กได้

                พัฒนาความเคารพต่อบิดามารดา เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา และค่านิยม ทั งค่านิยมของตนเองและของ
                ผู้อื่น ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมต่อการมีความรับผิดชอบในสังคมที่เสรีด้วยจิตส้านึกแห่งความเข้าใจกัน

                สันติภาพ ความอดกลั น ความเสมอภาคทางเพศ และให้เด็กได้เคารพต่อสิ่งแวดล้อม (ส้านักงานคณะกรรมการ
                สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ม.ป.ป)

                          นอกจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแล้ว ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศไทยยังได้

                อนุวัติตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเป็นปฏิญญาที่มีเนื อหาคล้ายกับสนธิสัญญาหลักด้าน
                สิทธิมนุษยชน โดยภายในปฏิญญาอาเซียนฉบับนี ได้ระบุถึงหลักการของการให้การศึกษาแก่เด็กในข้อที่ 31

                โดยมีเนื อหาโดยสรุปดังนี  (กรมอาเซียน, 2556)

                          ข้อที่ 31 บุคคลทุกคนมีสิทธิในการศึกษา โดยการศึกษาในระดับประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาค

                บังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า การศึกษาในระดับมัธยมในรูปแบบต่าง ๆ จะต้องถูกจัดขึ นและให้ทุกคน
                สามารถเข้าถึงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาสายอาชีพ นอกจากนี ทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึง

                การศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างเท่าเทียมบนพื นฐานของความสามารถและการศึกษาจะต้องด้าเนินไป
                เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ และเสริมสร้างคุณลักษณะของการเคารพในสิทธิมนุษยชน                  การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
                รวมไปถึงเคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง นอกจากนี ยังสนับสนุนให้การศึกษาจะต้องท้าให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม

                ในสังคม และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายในทางวัฒนธรรม ภาษา และเชื อชาติ

                          ทั งนี ประเทศไทยได้อนุวัติตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับ

                เด็กและเยาวชนตกหล่น (ASEAN Declaration on Strengthening Education for out-of-school Children
                and Youth) ซึ่งกล่าวถึงการให้รัฐให้ความส้าคัญแก่เด็กและเยาวชนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา โดยมุ่งเน้น

                ให้รัฐจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่นเพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและพัฒนาตนเองให้เป็น
                ประชากรโลกได้อย่างมีคุณภาพภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเด็กและเยาวชน

                ที่ไม่สามารถเข้าเรียนได้ และกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ต้องออกจากการเรียนกลางคัน (Kornchanok, 2560)




                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   3
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32