Page 100 - b29259_Fulltext
P. 100

1.5 วิวัฒนาการของระบอบการเมืองรัฐสภาในประเทศไทย

               เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำาการอภิวัตน์

        เปลี่ยนแปลง การปกครองประเทศสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                               174
        มาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ  คณะราษฎรจัดทำาร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญ
        การปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จ

        พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมา
        ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงเติมคำาว่า “ชั่วคราว”

        กำากับต่อท้ายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยมี
        พระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้ พ.ร.บ. ธรรมนูญฯ เป็น
        การชั่วคราว แล้วให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตั้งคณะอนุกรรมการทำา

        หน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป 175

               ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน

        พ.ศ. 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) แถลงต่อสภาฯ
        ว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เป็นฉบับชั่วคราวที่ร่างในเวลาฉุกละหุก
        อาจบกพร่อง จึงควรให้มีอนุกรรมการตรวจแก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุมจึง

        แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
        ทำาหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม



        174   ปรีดี พนมยงค์ เรียกระบอบการปกครองใหม่นี้ว่า ระบบราชาธิปไตยภายใต้
        รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ดู ปรีดี พนมยงค์. “คณะราษฎรกับการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย,”
        ปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย. กรุงเทพ: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526,
        หน้า 346. แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่าการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลง
        การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
        175   ปรีดี พนมยงค์, ปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย, 346.


     100
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105