Page 101 - b29259_Fulltext
P. 101
พ.ศ. 2475 176
สำาหรับชื่อเรียก “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” นั้น ระหว่างที่
คณะอนุกรรมการฯ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรมีผู้เสนอให้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ”
แทน ซึ่งคณะอนุกรรมการก็เห็นควรใช้คำาว่า “รัฐธรรมนูญ” และเป็นที่รับรู้
กันว่า ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นผู้เสนอให้ใช้คำาว่า “รัฐธรรมนูญ”
และกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า ถ้าผู้ร่างต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญ
ฉบับถาวรจะใช้คำาว่า “รัฐธรรมนูญ” แต่ถ้าจะใช้เป็นฉบับชั่วคราวจะเรียกว่า
177
“ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารมักไม่ได้
ปฏิบัติตามธรรมเนียมนี้อย่างเคร่งครัด ขึ้นกับว่าคณะรัฐประหารจะเลือกใช้
คำาเรียกรัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือธรรมนูญอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.6 การออกแบบโครงสร้างอ�านาจการเมืองไทยหลัง
เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
เมื่อแรกเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการจัดตั้งสถาบันการเมืองขึ้นมา
ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎร (ในเวลาต่อมาเรียกว่า
คณะรัฐมนตรี) โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกมาจากการแต่งตั้ง
176 เมื่อแรกตั้งมีกรรมการ 7 คน โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธาน
คณะอนุกรรมการฯ และหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นเลขาธิการ มีกรรมการประกอบด้วย
พระยาเทพวิฑุร พระยามานวราชเสวี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ พระยาปรีดานฤเบศร์
และหลวงสินาดโยธารักษ์ ต่อมา พระมโนปกรณ์นิติธาดาเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
ขอให้แต่งตั้ง อนุกรรมการฯ เพิ่มขึ้นอีก 2 คน ได้แก่ พระยาศรีวิศาลวาจา และ
นายพลเรือโทพระยาราชวังสัน จึงมีอนุกรรมการร่างฯ 9 คน
177 วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพ: สำานักพิมพ์
นิติบรรณการ, 2530), หน้า 21.
101
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 101