Page 123 - b29259_Fulltext
P. 123
ผู้ชำานาญการบริหารราชการแผ่นดินหรือผู้ชำานาญการในสภาขุนนาง
คอยทำาหน้าที่กำากับกลั่นกรองอีกต่อไป 185
สำาหรับประเทศที่ยังเห็นว่าระบอบการเมืองแบบรัฐสภาที่ยังคง
รูปแบบสภาที่สองไว้นั้น ก็เริ่มตั้งคำาถามกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งไม่ผ่านการเลือกตั้ง แต่เป็นการแต่งตั้งโดยฝ่ายรัฐบาล ทำาให้ถูกมองว่า
วุฒิสภาก็คือพรรครัฐบาลและเป็นสภาที่สองคอยสนับสนุนรัฐบาลมากกว่า
จะทำาหน้าที่ตรวจสอบ ถ่วงดุล หรือกำากับฝ่ายรัฐบาลอย่างที่ควรจะเป็น
ในประเด็นหลังนี้มีผลอย่างยิ่งต่อการพิจารณาปรับโครงสร้างสถาบันการเมือง
ในประเทศเครือจักรภพ หรืออดีตสหราชอาณาจักรที่เคยเป็นอาณานิคมของ
อังกฤษ เนื่องจากมองเห็นโครงสร้างสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติแบบสองสภา
(bicameral) นั้นไม่จำาเป็นอีกต่อไป ด้วยเหตุผลเรื่องความซำ้าซ้อน
ในการพิจาณา ระยะเวลาในการตรากฎหมายเพิ่มขึ้นอย่างไม่จำาเป็น
และสิ้นเปลืองงบประมาณ ประกอบกับความเห็นที่ว่า สภาผู้แทนราษฎร
ได้ทำาหน้าที่ดีอยู่แล้ว จึงไม่จำาจะต้องคงสภาที่สองเอาไว้อีกต่อไปและนำา
ไปสู่การปรับสถาบันการเมืองโดยยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือเพียงสภาผู้แทน
เท่านั้น เช่น กรณีประเทศนิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2493)
2.4 แนวคิดเรื่องการออกแบบโครงสร้างที่มาของรัฐสภา
ถึงแม้ว่าทิศทางการพัฒนาการทางการเมืองจะมุ่งเข็มไปในทาง
ประชาธิปไตย แต่ข้อถกเถียงเรื่องความจำาเป็นในการมีสถาบันการเมือง
และการออกแบบสถาบันการเมืองยังคงมีอยู่ในสองประเด็น
185 Philip Norton, Parliament in British Politics, pp. 36-37.
123
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 123