Page 32 - b29259_Fulltext
P. 32
ข) ลักษณะทั่วไป
หากพินิจพิเคราะห์ในทางวิชาการแล้วจะพบว่า “ธรรมชาติของ
อำานาจนิติบัญญัติ” (Nature of Legislative Power) มีลักษณะที่ค่อนข้าง
ผิดแผกแตกต่างไปจากอำานาจรัฐมิติอื่นอย่างอำานาจบริหารและอำานาจ
ตุลาการอยู่อย่างชัดเจนซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นลักษณะของอำานาจ
นิติบัญญัติดังต่อไปนี้ 45
1. นำาไปสู่การกำาหนด หรือสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นใหม่ หรือแก้ไข
เพิ่มเติมกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม
2. กฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้น หรือถูกแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีสถานะเป็น
กฎเกณฑ์ทางกฎหมาย (Legal Norm)
3. กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เป็นผลผลิตมาจากการใช้อำานาจ
นิติบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการกำาหนดกฎเกณฑ์ในเชิงนามธรรม
(Abstract) กล่าวคือ เป็นการกำาหนดความกฎเกณฑ์ของสังคม
อย่างกว้าง ไม่มีลักษณะเป็นการจำาเพาะเจาะจงว่าจะใช้กับ
บุคคลใดอย่างเป็นรูปธรรม (Concrete)46
4. มีการกำาหนดบทลงโทษหากปรากฏการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม
45 Thomas Mclntyre Cooley, A Treatise on the Constitutional Limitations
which Rest Upon the Legislative Power of the States of the American
Union 111 (1998).
46 René Seerden and F. A. M, Stroink, Administrative Law of the European
Union, its Member States and the United States: A Comparative Analysis
108 (2002).
32