Page 33 - b29259_Fulltext
P. 33
2. ประเภทของฝ่ายนิติบัญญัติ
ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองแล้ว ประเภท
ของฝ่ายนิติบัญญัติ หรืออาจเรียกให้เข้าใจได้โดยง่ายว่า “ประเภทของ
รัฐสภา” (Classification of Parliaments) อาจมีการแบ่งแยกออกมาเป็น
หลายประเภทด้วยกัน หากแต่ ณ ที่นี้คงจะได้กล่าวถึงเฉพาะแต่ประเภทของ
รัฐสภาที่ถูกนำาไปปรับใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประกอบ
ไปด้วย 2 ประเภทหลักด้วยกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วย “รัฐสภาเดี่ยว”
47
(Unicameralism) ที่มีเพียงสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative)
เพียงสภาเดียวเป็นผู้ใช้อำานาจนิติบัญญัติประเภทหนึ่ง และ “รัฐสภาคู่”
(Bicameralism) ที่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (Senate) เป็นผู้ใช้
อำานาจนิติบัญญัติอีกประเภทหนึ่ง โดยการกำาหนดกฎเกณฑ์ว่าประเทศหนึ่ง ๆ
พึงจะใช้รูปแบบ “สภาเดี่ยว” หรือ “สภาคู่” อาจไม่สามารถที่จะตอบ
อย่างเป็นสูตรสำาเร็จได้ หากแต่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละประเทศ
อันส่งผลต่อการกำาหนดประเภทของฝ่ายนิติบัญญัติของตนเองอย่างไร
48
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลในทางประวัติศาสตร์ก็ดี เหตุผลในทางเศรษฐกิจและ
49
สังคมก็ดี เหตุผลในทางรัฐประศาสโนบาย (Public Policy) ฯลฯ
47 George Tsebelis, Veto Players: How Political Institutions Work 1
(2002).
48 ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างประจักษ๋ชัดสำาหรับเหตุปัจจัยในทางประวัติศาสตร์
ซึ่งนำาไปสู่การกำาหนดประเภทของฝ่ายนิติบัญญัตินั่นคือ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้
เนื่องจากบริบทและพัฒนาการทางการเมืองของประเทศอังกฤษนำาไปสู่การกำาหนด
ให้ประเทศอังกฤษมีรูปแบบรัฐสภาแบบ “สภาคู่” (Bicameralism) ซึ่งประกอบไปด้วย
สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) และ วุฒิสภา (House of Lords)
49 A Unicameral Legislature in New York: A Review and a Proposal,
Fordham Law Rev. 310 (1967).
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 33 33