Page 46 - b29259_Fulltext
P. 46
5. คณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร
ในการทำาหน้าที่ตามที่ได้อรรถาธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว
สภาผู้แทนราษฎรหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องประสบพบเจอกับปัญหาและ
เรื่องราวต่าง ๆ มากมายหลายมิติ กรณีจึงอาจไม่เป็นการสะดวก ทันท่วงที
และมีประสิทธิภาพมากนัก หาก “สภาผู้แทนราษฎร” จะได้ดำาเนินการ
ผ่านการประชุมใหญ่ทั้งหมด ดังนั้น ระบบของ “สภาผู้แทนราษฎรเล็ก”
(Miniature House of Representative) จึงถือกำาเนิดเกิดขึ้นมา กล่าวคือ
91
เพื่อทำาให้การทำาหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรดำาเนินการไปอย่างรวดเร็วและ
มีประสิทธิภาพ “ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภา” หรือ “Parliamentary
Committee System” จึงเกิดขึ้นจากการแต่งตั้งของสภาผู้แทนราษฎร
92
สำาหรับทำาหน้าที่พิจารณาศึกษาในเรื่องราว ๆ หนึ่ง ๆ ในรายละเอียด อาทิ
ประเด็นทางด้านความมั่นคงก็ดี ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมก็ดี ประเด็น
ทางด้านพลังงานก็ดี ก็จะถูกพิจารณาศึกษาโดยคณะกรรมาธิการทาง
ด้านนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะได้ดำาเนินการส่งต่อข้อมูลของการพิจารณา
ศึกษาไปยัง “สภาผู้แทนราษฎรใหญ่” เพื่อพิจารณาดำาเนินการตัดสินใจ
ในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป
91 C. E. S. Franks, The Dilemma of the Standing Committee of the Canadian
House of Commons, Vol.4 Canadian Journal of Political Science 461 (1971).
92 Parliament of New South Wales, The Role of Committees, (Jul. 9,
2017), https://www.parliament.nsw.gov.au/about/Pages/The-Role-of-
Committees.aspx.
46