Page 44 - b29259_Fulltext
P. 44

ฝ่ายบริหารจะทำาหน้าที่อยู่บนหลักความไว้เนื้อเชื่อใจของฝ่ายนิติบัญญัติ 84




               2. การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ

               อาจไม่ค่อยมีการอธิบายขยายความกรณีสภาผู้แทนราษฎรกับ
        การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ หรือศาลมากมายนักจนกระทั่งหลายท่าน

        เข้าใจผิดคิดไปว่ากลไกดังกล่าวไม่มีเลย จะมีก็แต่เพียงการคะคานกับ
        ฝ่ายบริหารเท่านั้น อันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักกฎหมาย

        ธรรมนูญและสถาบันการเมืองอย่างมาก กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎรเองก็มี
        กลไกในการตรวจสอบศาลได้ผ่านการตรากฎหมายขึ้น  กล่าวอีกนัยหนึ่ง
                                                    85
        กฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการใช้อำานาจนิติบัญญัตินั้น

        จะถูกบังคับใช้กับฝ่ายตุลาการด้วย ศาลเองมิอาจใช้อำานาจขัดแย้ง
        หรือละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักนิติธรรม

        (The Rule of Law) ที่ถือเอาตัวบทกฎหมายเป็นสรณะในการปกครอง
                             86
        ประเทศ หาใช่ตัวบุคคลไม่




        84   การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นกลไลตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติที่กระทำา
        ต่อฝ่ายบริหารในประเทศที่มีระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา หาได้มีในประเทศที่มีระบบรัฐบาล
        แบบประธานาธิบดีไม่
        85   Martin Kelly, Checks and Balances in American Government, (Jul. 9,
        2017), https://www.thoughtco.com/checks-and-balances-american-
        government-105406.
        86   William H. Pryor JR., Moral Duty and the Rule of Law, Vol. 31 Harvard
        Journal Law & Public Policy 156 (2012).




     44
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49