Page 41 - b29259_Fulltext
P. 41

73
        เท่านั้น หากแต่ครอบคลุมไปถึงการแก้ไขเพิ่มเติมตัวบทกฎหมายด้วย
        ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคมที่มีความเป็นพลวัต
        (Dynamic) นั่นเอง


               อนึ่ง การตราตัวบทกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรนอกจากจะเป็น
        การสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเพื่อใช้บังคับกับสังคมตามภารกิจการปกครองของ
        รัฐแล้ว ยังมีกรณีของการสร้างกฎกติกาเพื่อเข้ามาดูแลเกี่ยวกับการบริหาร

        จัดการการปกครองรัฐในเรื่องการเงินอย่างการกำาหนดอัตราภาษีต่างๆ 74
        และการกำาหนดงบประมาณในการบริหารประเทศสำาหรับรัฐบาลอีกด้วย 75




               ข)   หน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการท�าหน้าที่ขององค์กรอื่น

               ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองแล้ว ระบบ

        การตรวจสอบถ่วงดุล (Checks and Balances) ถือเป็นหัวใจสำาคัญ
        เพื่อป้องกันมิให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งใช้อำานาจบาตรใหญ่จนกระทั่งเข้าไป




        73   รัฐธรรมนูญโดยส่วนใหญ่ของประเทศต่าง ๆ จะมีการกำาหนดให้สภาผู้แทนราษฎร
        มีอำานาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Constitutional Amendment) ซึ่ง “อำานาจ
        ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” กับ “อำานาจนิติบัญญัติ” นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ผู้สนใจ
        อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Martin Loughlin, The Concept of Constituent Power,
        Critical Analysis of Law Workshop, University of Toronto, 15 Jan. 2013.
        74   Stephen W. Mazza and Tracy A. Kaye, Restricting the Legislative
        Power to Tax in the United States, 54 Am. J. Comp. L. 641 (2006).
        75   Paul Posner and Chung-Keun Park, Role of Legislature in the Budget
        Process: Recent Trends and Innovations, Vol.7 OECD Journal On Budgeting
        3 (2007).
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46