Page 45 - b29259_Fulltext
P. 45

ค)   การท�าหน้าที่ผู้แทนของประชาชน


               ถือเป็นปกติวิสัยของการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางอ้อม
        (Indirect Democracy) ที่ผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

        จะต้องทำาหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้แทนของปวงชน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
        ทำาหน้าที่ “เป็นปากเป็นเสียง” แทนประชาชนในเรื่องที่ประชาชนได้รับ
        ความเดือดร้อนด้วยการรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

        การพบปะประชาชน ณ ท้องที่ต่าง ๆ ก็ดี การที่ประชาชนยื่นคำาร้องทุกข์
                              87
        (Petition of Grievances)  ผ่านจดหมาย หรือเดินทางมายื่น ณ รัฐสภา
        ด้วยตนเองก็ดี เป็นต้น เมื่อผู้แทนราษฎรได้รับทราบข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว
        ก็อาจดำาเนินการผ่านกลไกซักถามกับรัฐบาลเมื่อครั้นมีการประชุม
                      88
        สภาผู้แทนราษฎร  หรือผ่านกลไกของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร
        ที่จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนนั้น ๆ มา
        ซักถามพร้อมเรียกร้องให้ดำาเนินการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงเสีย  ทั้งหมดนี้
                                                          89
        สะท้อนให้เห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมีพันธกิจที่พึงต้องปฏิบัติในฐานะ
        ผู้แทนประชาชน เพื่อเข้าแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อน (Redress of
        Grievances) ของประชาชน 90





        87   Thomas Curson Hansard, Parliamentary Debates 275-276 (1803).
        88   Paul G. Thomas, Parliamentary Scrutiny and Redress of Grievances,
        Canadian Parliamentary Rev. 7-8 (2007).
        89   Paul G. Thomas, Parliamentary Scrutiny and Redress of Grievances,
        Canadian Parliamentary Rev. 7-8 (2007).
        90    House of Commons Information office, Public Petitions 5-6 (2010).




                                 หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ  45 45
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50