Page 104 - kpiebook62001
P. 104
พฤติกรรมที่เอื้อกับการที่ผู้ได้รับสวัสดิการจะสามารถออกจากความยากจนได้ แต่อาจเป็นเพราะโครงการนี้เพิ่งเริ่มจัดท า
มาได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
สุดท้ายคือประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ านั้น จากการทบทวนเอกสารไม่พบว่ามีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับ
เป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ าว่าต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาในมิติใด หากจะมองเฉพาะสถิติของความเหลื่อมล้ าที่
ใช้ชี้วัดกันทั่วไป ได้แก่ สัดส่วนรายได้ รายจ่ายของกลุ่มคนที่ร่ ารวยที่สุดและยากจนที่สุด หรือสัมประสิทธิ์จินี โครงการ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่น่าจะส่งผลต่อค่าสถิติเหล่านี้เท่าไรนัก เนื่องจากความเหลื่อมล้ าเป็นวิธีคิดหรือการศึกษาความ
ยากจนแบบสัมพัทธ์ที่เป็นการเปรียบเทียบคนในสังคมเดียวกัน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่งผลกับระดับรายได้และรายจ่าย
ของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เหลือในสังคม ดังนั้นหากรายได้หรือรายจ่าย
ของกลุ่มคนอื่น ๆ เติบโตได้ไวกว่ากลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการนี้ย่อมไม่ส่งผลและช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
4.2.5 การตอบรับและความเป็นไปได้
ความเป็นไปได้และการตอบรับมีความสอดคล้องกันอยู่ ค าว่าความเป็นไปได้ในภาษาอังกฤษคือ feasibility
นอกจากจะมีนัยของการปฏิบัติได้จริงแล้ว ยังมีนัยของความยั่งยืนของโครงการในระยะยาวด้วย ซึ่งโครงการที่มีความ
เป็นไปได้ก็จะต้องได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปรวมปัญหา
ในมุมมองของกลุ่มคนแต่ละกลุ่มอีกครั้ง เพื่อน าไปวิเคราะห์การตอบรับและความเป็นไปได้
ในแง่การตอบรับจากภาคส่วนต่าง ๆ ส าหรับมุมมองของผู้ได้รับสวัสดิการ จากการสัมภาษณ์ในแง่ของการตอบ
รับ ทั้งหมดมองว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีประโยชน์ในแง่การช่วยลดภาระค่าครองชีพได้ แม้ว่าส่วนใหญ่ต้องการให้เพิ่มวง
ในช่องการซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ บางส่วนเสนอให้วงเงินที่ให้จัดสรรนั้นเป็นเงินสดเพื่อความคล่องตัว และ
บางส่วนก็เสนอว่าควรให้อิสระในการโยกวงเงินจากช่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้มาเป็นการซื้อสินค้าหรือกดเงินสดได้
“ตั้งแต่ได้บัตรมาก็ซื้อพวกแฟ้บ สบู่ ยาสีฟัน น้ ามันพืช ข้าวสาร แต่บางที 300 ไม่พอต้องควัก
ทุนตัวเองอีกประมาณร้อยสองร้อยเพิ่มไปอีก แต่ก็ยังที่เขายังให้มา ก็ดีขึ้นเยอะ”
ที่มา: จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีบัตร
ประเด็นเรื่องการถูกตีตรา (stigma) คณะวิจัยไม่อาจสรุปแน่ชัดได้ว่าผู้มีบัตรนั้นรู้สึกว่าการรับสวัสดิการ
จากบัตรนั้นท าให้รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของสังคม หรือเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการโอบอุ้มจากสังคมหรือไม่ จาก
การสัมภาษณ์เบื้องต้นนั้น ผู้มีบัตรไม่รู้สึกว่าตนถูกตีตรา แต่ประเด็นนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนและขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมเป็นส าคัญ จึงอาจต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
“ไม่รู้สึกอะไร เพราะเราก็จนจริง ๆ แถวบ้านก็จะรู้ ..... (เวลาน าไปใช้) ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร .... ก็
ยังดีนะอย่างช่วงปีใหม่ก็ได้กันมาคนละ 500”
ที่มา: จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีบัตร
ส าหรับ มุมมองของระดับปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยรับลงทะเบียนดังที่กล่าวไว้ในส่วนของต้นทุนว่า
การจัดท าโครงการควรมีแผนระยะยาวเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับการจัดท าโครงการได้ทันท่วงที และควร
95