Page 124 - kpiebook62001
P. 124

โครงการจ้างงานอื่น ๆ ถูกผลักดันขึ้นมาต่อเนื่องจากการเริ่มต้นของ EGS เช่น โครงการ Jawahar Rozgar

               Yojana (JRY/JGSY) และโครงการ Employment Assurance Scheme (EAS) ทั้งสองโครงการมุ่งสร้างการจ้างงาน
               ให้กับคนยากจนในชนบท กลไกในการเจาะจงของทั้งสองโครงการแตกต่างกันในรายละเอียด โดย JRY/JGSY ใช้กลไก

               ชุมชนในการช่วยคัดกรองคนจนเข้าโครงการ ในขณะที่ EAS ยังใช้กลไกของรัฐบาลก ากับ ผสมกับการตั้งค่าจ้างให้ต่ า

               เพื่อให้เกิดการคัดกรองด้วยตนเองในการรับสวัสดิการ
                       ปัญหาที่ทั้งสองโครงการประสบนั้นคล้ายกัน ผู้ด าเนินการในระดับท้องถิ่นมักสร้างปัญหาในการด าเนินงาน เช่น

               ใช้สัดส่วนเงินทุนในโครงการไปกับการลงทุนในวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังมีการน าเอาตัวกลางเข้า

               มามีบทบาทจัดหาคนมาท างาน โดยตัวกลางเหล่านี้หันไปจ้างแรงงานจากภายนอก รวมถึงใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน ท า
               ให้สัดส่วนการจ้างงานคนยากจนในพื้นที่นั้นลดลงและต้องถูกกระจายออกไปมากขึ้น การส ารวจพบว่าโครงการ

               JRY/JGSY สามารถสร้างการจ้างงานให้กับคนในโครงการหนึ่งคนเพียง 11 วันต่อปี ในขณะที่โครงการ EAS สร้างงานได้

               เพียง 17 วัน นอกจากนี้โครงการยังมีปัญหาในการเจาะจงคลาดเคลื่อน โดยสัดส่วนแรงงานที่ยากจนในโครงการเช่น
               JRY/JGSY คิดเป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด (Srivastava, 2005)

                       ในปี 2001 โครงการ EAS และ JRY/JGSY ถูกควบรวมเป็นโครงการเดียวคือ SGRY โดยเพิ่มบทบาทของตัวแทน

               ชุมชนในระดับท้องถิ่นเพื่อพยายามลดปัญหาการขาดธรรมาภิบาลในโครงการ รวมถึงใช้การให้ผลตอบแทนเป็นอาหาร
               แทนเงินเพื่อลดโอกาสการคอร์รัปชัน มีการก าหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนขึ้นว่าการจ้างงานที่เกิดขึ้นมุ่งไปที่คนยากจน และให้

               เลือกจัดสรรงานให้กับคนที่ยากจนที่สุด ผู้หญิง และคนจากวรรณะต่ าก่อน อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงก็ยังไม่ได้สร้าง

               ผลดีเท่าไหร่นัก การเพิ่มบทบาทของตัวแทนชุมชนกลับส่งผลบิดเบือนการคัดเลือกผู้ได้รับประโยชน์ โดยพบว่าคนยากจน
               ที่มีความใกล้ชิดกับผู้น าชุมชนมักจะได้รับการคัดเลือกก่อน (Deshingkar and Johnson, 2003)  นอกจากนี้ ปัญหาการ

               เจาะจงคลาดเคลื่อนยังไม่ได้ลดลงไปมาก โดยมีการพบว่าการตั้งค่าจ้างเป็นอัตรามาตรฐานส่งผลให้ในหมู่บ้านที่ร่ ารวย

               และค่าจ้างอยู่ต่ ามีการจ้างคนจนจากนอกหมู่บ้านมาท างาน ในขณะที่ในหมู่บ้านที่ยากจน อัตราค่าจ้างที่สูงน าไปสู่การที่
               คนที่ไม่ได้ยากจนที่สุดเข้ามาแบ่งประโยชน์ ส่งผลให้คนที่ยากจนกว่าถูกกีดกันออก งานศึกษาโดย Novak et. Al. (2002)

               พบว่าเพียงหนึ่งในสี่ของเงินทุนเพื่อเป็นค่าจ้างนั้นไปถึงคนยากจน

                       ยังมีโครงการอีกลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างงานโดยตรง แต่เน้นการให้เงินทุนกับคนยากจนเพื่อน าไปสู่การ
               ประกอบอาชีพ โครงการในลักษณะนี้เช่น Integrated Rural Development Program (IRDP) ที่มุ่งกระจายสินเชื่อ

               จากสถาบันการเงินให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ยากจน และโครงการ Swarn Jayanti Gram Swarozgar Yojana (SGSY) ที่มุ่ง

               ประสานงานระหว่างองค์กรพัฒนาที่ท างานในพื้นที่ในการส่งเสริมการด าเนินงานวิสาหกิจขนาดเล็กโดยคนจน ตั้งแต่การ
               สร้างกลุ่ม การฝึกอาชีพ รวมไปถึงการแสวงหาสินเชื่อและทุน โครงการเช่น SGSY มีเป้าหมายให้ผู้ได้รับประโยชน์จาก

               โครงการอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์จะต้องเป็นคนที่อยู่ในฐานข้อมูลของรัฐว่ายากจน อย่างไรก็ตาม การด าเนินงานจริง

               กลับพบว่าการประสานงานระหว่างองค์กรพัฒนาในพื้นที่เกิดขึ้นน้อยมาก การสร้างกลุ่มอาชีพให้กับเฉพาะคนยากจนนั้น
               ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงโดยง่าย การคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลโครงการยังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยกว่าครึ่ง

               ของงบประมาณถูกใช้ไปในทางที่ผิด (CAG, 2003)

                                                               115
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129