Page 16 - kpiebook62001
P. 16

  การกระจายสวัสดิการไม่ทั่วถึง แม้ไม้ได้มีการรั่วไหลจากการคอร์รัปชัน แต่นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจง

               ไปที่คนจนก็มีโอกาสจะได้รับการจัดสรรไม่ทั่วถึงคนที่ยากจนทั่งหมดด้วย เพราะผู้ที่มีอ านาจจัดสรรผลประโยชน์จาก
               นโยบายอาจมองไปที่การจัดสรรให้กับคนที่ใกล้ชิดกับตนเองก่อน ปัญหาเช่นนี้ถูกเรียกว่าการครอบง าโดยผู้มีอ านาจ

               (elite capture) และมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับที่ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดสรรสวัสดิการ (Mansuri and

               Rao, 2013) นอกจากนี้ การจัดสรรที่ไม่ทั่วถึง ยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การที่คนยากจนในพื้นที่ไม่สามารถ
               เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดสรรสวัสดิการได้ ด้วยเพราะเหตุผลเช่นมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเข้าร่วม

               กระบวนการสูง

                       นอกจากศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาในรูปแบบหลักเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ คณะวิจัยยังต้องการ
               ส ารวจปัญหาในลักษณะอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่ถูกเลือกมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อน ามาเปรียบเทียบและสร้าง

               ความเข้าใจกับประสบการณ์ของประเทศไทย

                       (4) แนวทางการแก้ไขปัญหา


                       คณะวิจัยจะส ารวจถึงแนวทางต่าง ๆ ที่ถูกน ามาใช้ปรับปรุงนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงในต่างประเทศ
               ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาด้วยการกระจายข้อมูล การสร้างกลไกการมีส่วนร่วมและตรวจสอบ แนวทางเหล่านี้มักจะถูก

               พัฒนาเพื่อป้องกันการรั่วไหลของทรัพยากรจากการคอร์รัปชัน นอกจากนี้ คณะวิจัยจะส ารวจแนวทางการบริหารจัดการ

               นโยบายแบบเจาะจงผ่านการกระจายอ านาจ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการจัดการที่ส าคัญที่มักจะถูกน ามาใช้ นอกจากแนวทาง
               เหล่านี้ คณะวิจัยจะส ารวจถึงแนวทางและวิธีการอื่น ๆ เพื่อสร้างเป็นข้อเสนอให้กับประเทศไทย


                       (5) การใช้กรณีศึกษาจากต่างประเทศเพื่อศึกษาโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน

                       ในการเลือกกรณีศึกษาจากต่างประเทศเพื่อมาท าการส ารวจ คณะวิจัยจะเลือกกรณีศึกษาที่เป็นประเทศที่มี

               ฐานะไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบประสบการณ์กับประเทศไทยได้ ประเทศที่เลือกจะต้อง

               เป็นประเทศที่มีการใช้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงค่อนข้างมาก เพื่อให้สามารถส ารวจประสบการณ์ได้อย่างเข้มข้น
               ประเทศที่คณะวิจัยตั้งเป้าหมายจะน ามาเป็นกรณีศึกษาประกอบไปด้วย อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน โดยรายละเอียด

               ของประเทศเหล่านี้ในฐานะกรณีศึกษาจะถูกระบุไว้ในส่วนของวิธีการวิจัย อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยสามารถเพิ่ม

               กรณีศึกษาในประเทศอื่น ๆ เพื่อให้การศึกษาครบถ้วนขึ้นได้ตามความเหมาะสม

                       1.3.2.2 การศึกษาแนวทางการใช้นโยบายสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล ้า


                       ในส่วนที่สอง คณะวิจัยต้องการถามค าถามที่ให้ความสนใจกว้างกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะกับการแก้ปัญหา
               นโยบายอุดหนุนไปที่คนจน โดยจะสนใจประเด็นค าถามว่านโยบายสวัสดิการในภาพรวมควรจะได้รับการออกแบบ

               อย่างไรจึงจะสามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ าได้  ในการส ารวจประสบการณ์จากกรณีศึกษา คณะวิจัยจะถามค าถามว่า

               การจะผสมผสานนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนเข้ากับนโยบายสวัสดิการแบบอื่น ๆ ให้ลดความเหลื่อมล้ าได้




                                                                7
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21