Page 45 - kpiebook62001
P. 45
คณะวิจัยจะเริ่มอธิบายจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงเอง และจะขยายค าอธิบาย
ไปสู่การออกแบบนโยบายสวัสดิการอื่น ๆ ให้เกื้อหนุนกับสวัสดิการแบบเจาะจง
(1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจง
การออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงให้ช่วยก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ นั้นเป็นปัจจัยที่ส าคัญยิ่งที่จะท าให้
สวัสดิการแบบเจาะจงท างานได้ดีขึ้น หัวใจหลักประการแรกของการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงนั้นอยู่ที่การแสวงหา
วิธีการในการจะเข้าถึงคนยากจนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น (Smeeding, 2005) การน าเทคโนโลยีเรื่องข้อมูลมาใช้นั้นเป็น
กระบวนการส าคัญในการบรรลุจุดประสงค์นี้ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมถึงการจัดการข้อมูลที่ดีขึ้นนั้น
มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้โครงการเงินอุดหนุนคนยากจนในภูมิภาคละตินอเมริกาประสบความส าเร็จมากขึ้น
ในการเข้าถึงคนยากจน (Cecchini and Madariaga, 2011)
นอกเหนือไปจากการพัฒนาระบบข้อมูลแล้ว แง่มุมส าคัญอีกประการที่จะช่วยสร้างศักยภาพให้กับสวัสดิการ
แบบเจาะจงก็คือการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมเพื่อให้การท างานของรัฐนั้นมีความรับผิดชอบมากขึ้น Molyneux et
al. (2016) เน้นว่าการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนได้ตรวจสอบการท างานของนโยบายสวัสดิการแบบ
เจาะจงนั้นมีส่วนส าคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาทรัพยากรรั่วไหลจากการท างานผิดพลาดหรือการคอร์รัปชันของ
เจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้กระบวนการมีส่วนร่วมยังสามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการเจาะจงให้เข้าถึงเป้าหมายคน
ยากจนได้ส าเร็จมากขึ้น ที่ส าคัญ การเข้ามามีส่วนร่วมยังสามารถลดปัญหาเรื่องทัศนคติทางลบต่อนโยบายสวัสดิการ
แบบเจาะจง เช่น ปัญหาที่ผู้ได้รับสวัสดิการมองว่าการได้รับสวัสดิการนั้นเป็นสิ่งที่ท าให้ตนเองเกิดความรู้สึกด้อยค่า
แต่การแก้ปัญหาเช่นมุมมองทางลบต่อนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงก็ยังต้องใช้การออกแบบอีกหลายแง่มุม
Molyneux et al. (2016) พบว่าการสร้างความเข้าใจในหมู่คนที่ได้รับและไม่ได้รับสวัสดิการในระดับชุมชนเป็น
กระบวนการส าคัญยิ่งที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับสวัสดิการไม่ให้ต้องเผชิญมุมมองทางลบจากคนอื่น ๆ ในขณะที่ Marx et al.
(2013) ให้มุมมองที่กว้างขึ้น โดยอธิบายว่าพัฒนาการของสวัสดิการแบบเจาะจงในการออกแบบให้ผู้ได้รับสวัสดิการต้อง
เผชิญเงื่อนไขการจะต้องกลับสู่การท างานโดยเร็ว รวมถึงการท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงไม่ได้จ ากัดการให้ประโยชน์
เฉพาะคนที่จนที่สุด แต่ให้มีการเกลี่ยผลประโยชน์ให้คนกลุ่มอื่นเข้ามามีส่วนได้รับด้วย เป็นสภาพส าคัญที่ท าให้สวัสดิการ
แบบเจาะจงได้รับการยอมรับมากขึ้นในหมู่คนชั้นกลางในประเทศพัฒนาแล้ว และการยอมรับนี้เองมีส่วนส าคัญในการท า
ให้งบประมาณที่ไปสู่สวัสดิการแบบเจาะจงไม่ลดลง
การออกแบบเงื่อนไขที่มาพร้อมสวัสดิการแบบเจาะจงเป็นอีกปัจจัยส าคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของสวัสดิการ
แบบเจาะจง ในปัจจุบันการสร้างเงื่อนไขแทบจะกลายเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับสวัสดิการแบบเจาะจงเสมอ อย่างไรก็ตาม
ความส าเร็จของเงื่อนไขต่าง ๆ นั้นยังเกิดขึ้นต่างกัน เงื่อนไขที่ประสบความส าเร็จจะต้องมีศักยภาพในการจัดการกับ
รากฐานของปัญหาความยากจน และท างานควบคู่ไปกับการลดความผันผวนหรือความเสี่ยงในชีวิตให้คนยากจน ในกรณี
ของประเทศในละตินอเมริกาส่วนใหญ่ เงื่อนไขจึงเกิดขึ้นในรูปแบบของการบังคับให้ครัวเรือนต่องส่งบุตรหลานเข้าสู่
โรงเรียน ด้วยมองว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในการช่วยผลักให้คนรุ่นต่อไปออกจากปัญหาความยากจนได้
36