Page 42 - kpiebook62001
P. 42

จากปัญหาที่ได้ท าการส ารวจไว้ข้างต้นนั้น คณะวิจัยสามารถประยุกต์กรอบวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเพื่อสรุป

               ความท้าทายของสวัสดิการแบบเจาะจง กรอบวิเคราะห์ที่น ามาใช้ในที่นี้ประยุกต์มาจาก Morestin (2012) ซึ่งน าเสนอ
               กรอบวิเคราะห์ส าหรับตรวจสอบการท างานของนโยบายในด้านสุขภาพ กรอบนี้น าเสนอให้วิเคราะห์คุณภาพการท างาน

               ของนโยบายโดยมองจาก 6 มิติอันประกอบไปด้วยแง่มุมเกี่ยวกับผลของนโยบาย 3 ประการคือ (1) ประสิทธิผล (2)

               ผลข้างเคียง (3) และการกระจายประโยชน์ และแง่มุมเกี่ยวกับการด าเนินนโยบายอีก 3 ประการคือ (4) ต้นทุน (5)
               ความเป็นไปได้ และ (6) การตอบรับ

                       ส าหรับนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจง การส ารวจปัญหาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความท้าทายในการปรับปรุง

               คุณภาพเมื่อมองผ่านกรอบของ Morestin (2012) จะอยู่ที่การตอบสนองมิติต่าง ๆ ข้างต้นดังนี้
                       ประสิทธิผล (effectiveness): ประสิทธิผลของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงขึ้นอยู่กับว่าสวัสดิการแบบ

               เจาะจงนั้นสามารถส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายได้ดังที่ต้องการได้เพียงไร โดยเฉพาะเป้าหมายในการลดความยากจน ซึ่งการ

               จะได้ประสิทธิผลที่ดีขึ้นอยู่กับทั้งการแก้ปัญหาข้อผิดพลาดในการเจาะจง โดยเฉพาะความผิดพลาดในการกีดกัน
               (exclusion error) ซึ่งส่งผลให้นโยบายไม่สามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ และยังขึ้นอยู่กับการมีอัตราการช่วยเหลือที่

               เหมาะสม สามารถยกระดับคนยากจนให้ออกจากกับดักความยากจนได้จริง รวมไปถึงการออกแบบเงื่อนไขประกอบการ

               ให้สวัสดิการที่จะช่วยให้เกิดการผลักดันพฤติกรรมที่เอื้อกับการที่ผู้ได้รับสวัสดิการจะสามารถออกจากความยากจนได้
                       ผลข้างเคียง (unintended effects): มิติส าคัญอีกประการที่ท้าทายนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงก็คือ

               ผลข้างเคียง ดังที่ได้ส ารวจไว้ข้างต้นว่าผลข้างเคียงที่ส าคัญของสวัสดิการแบบเจาะจงคือการบิดเบือนแรงจูงใจ ทั้งในด้าน

               การแสวงหารายได้หรือแม้กระทั่งการปรับตัวในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท างานเพื่อรักษาประโยชน์จากสวัสดิการไว้
                       การกระจายประโยชน์ (equity): คุณภาพของสวัสดิการแบบเจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการกระจาย

               ประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนยากจนที่แท้จริงอย่าถูกเป้า ส าหรับการจะตอบเป้าหมายนี้ได้นั้นนอกจากจะต้อง

               พยายามแก้ปัญหาเช่นลดความผิดพลาดในการเจาะจงแล้ว ยังต้องลดการรั่วไหลของทรัพยากรโดยเฉพาะในกรณีการ
               กระจายทรัพยากรไปที่กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้มีอ านาจในการตัดสินใจ อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่ความพยายามลด

               ความผิดพลาดในการเจาะจง เช่น การให้ชุมชนหรือเจ้าหน้าที่องค์กรรัฐเข้ามามีบทบาทในการคัดเลือกผู้ที่จะได้รับ

               สวัสดิการ ก็สามารถน าไปสู่ผลเสียในเวลาเดียวกันจากการเปิดโอกาสให้เกิดการกระจายทรัพยากรไปที่กลุ่มคนที่ใกล้ชิด
               กับคนที่มีอ านาจคัดเลือกก่อน

                       ต้นทุน (cost): นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงมาพร้อมต้นทุนที่ส าคัญ ก็คือต้นทุนในการเจาะจงและการคัด

               กรองคนยากจน ต้นทุนที่สูงในการท ากระบวนการเหล่านี้ให้ประสบความส าเร็จเป็นปัจจัยส าคัญในการออกแบบลักษณะ
               ของสวัสดิการแบบเจาะจง นอกจากนี้ ในกรณีที่นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงมีลักษณะแบบให้เลือกรับบริการด้วย

               ตนเอง ต้นทุนอีกประการที่จะเกิดขึ้นก็คือต้นทุนที่เกิดกับตัวผู้รับสวัสดิการเอง เช่น การต้องให้ผู้รับบริการต้องเสียเวลา

               เพื่อรอรับหรือเพื่อผ่านการคัดกรองให้ได้รับสวัสดิการเป็นต้น
                       ความเป็นไปได้ (feasibility): นอกจากสร้างต้นทุนแล้ว นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงยังอาจเผชิญปัญหา

               การด าเนินนโยบายว่าสามารถท าได้จริงเพียงใด เพราะกระบวนการเจาะจงและคัดกรองคนยากจนของนโยบาย

                                                               33
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47