Page 43 - kpiebook62001
P. 43
สวัสดิการแบบเจาะจงอาจสร้างความยากล าบาก โดยเฉพาะหากกระบวนการคัดกรองคนยากจนถูกออกแบบมาอย่าง
ซับซ้อนและต้องใช้ทรัพยากรสูง ปัญหาเรื่องความเป็นไปได้อาจเกิดขึ้นมากกว่าในบริบทประเทศก าลังพัฒนาที่ระบบของ
รัฐบาลรวมไปถึงศักยภาพขององค์กรที่เข้ามาช่วยท าหน้าที่ด าเนินนโยบายยังไม่ได้สูงนัก
การตอบรับ (acceptability): ส าหรับมิติสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายในการพัฒนาคุณภาพของ
นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงก็คือมิติเรื่องผู้มีส่วนร่วมในนโยบายตอบรับกับการด าเนินนโยบายอย่างไร การตอบรับ
สวัสดิการแบบเจาะจงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเพียงการตอบรับจากผู้ได้รับสวัสดิการ แต่ยังรวมไปถึงตัวผู้ด าเนิน
นโยบายเองและคนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นคนยากจน ส าหรับสวัสดิการแบบเจาะจงนั้น ความท้าทายส าคัญก็คือปัญหา
การตอบรับที่อาจเกิดจากคนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่คนยากจนที่มองสวัสดิการแบบเจาะจงว่าไม่ใช่สิ่งที่ตนเองจะได้ประโยชน์
มุมมองเช่นนี้อาจกระทบต่อไปถึงตัวสวัสดิการแบบเจาะจงให้เกิดปัญหาหดตัวหรือแม้กระทั่งอาจถูกยกเลิกไปเนื่องจาก
ประชาชนมองไม่เห็นถึงความส าคัญเท่าไรนัก
คณะวิจัยจะน าเอาเนื้อหาความท้าทายในแต่ละมิติที่ได้จากการใช้กรอบการวิเคราะห์ของ Morestin (2012) มา
ใช้ประกอบการวิเคราะห์ปัญหาของนโยบายบัตรสวัสดิการคนจนในบทที่ 4 ของรายงานวิจัย
2.4 สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนกับการแก้ปัญหาความยากจนและการแก้ปัญหาความเหลื่อมล ้า
ในส่วนสุดท้ายของบทนี้ คณะวิจัยจะส ารวจงานศึกษาที่พยายามพิจารณาศักยภาพของสวัสดิการแบบเจาะจงที่
คนจนในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ า โดยการส ารวจนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีปัจจัยส าคัญอะไรบ้างที่เข้ามา
มีผลกับศักยภาพดังกล่าว นอกจากนี้ เพื่อเป็นฐานในการพิจารณาถึงแนวทางในการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงที่คน
จนให้มีลักษณะเอื้อต่อการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ า
2.4.1 ศักยภาพในการลดความเหลื่อมล ้าของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
ศักยภาพของระบบสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าเป็นประเด็น
การศึกษาส าคัญมาเป็นเวลานาน โดยการศึกษามักจะเปรียบเทียบประเทศทีมีสวัสดิการรูปแบบที่แตกต่างกันว่าส่งผลต่อ
เป้าหมายดังกล่าวแตกต่างกันไปอย่างไร ในทางทฤษฎีแล้ว การทุ่มเอาทรัพยากรทางสวัสดิการให้เฉพาะกลุ่มคนที่รายได้
น้อย ควรจะส่งผลให้เกิดการกระจายทรัพยากรมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับการเก็บภาษีอัตราแบบก้าวหน้า
แต่ในความเป็นจริงปัญหาต่าง ๆ ที่สวัสดิการแบบเจาะจงต้องประสบก็อาจท าให้นโยบายดังกล่าวไม่อาจส่งผล
ได้ตามทฤษฎี เช่น ต้นทุนในการด าเนินนโยบายที่สูง รวมไปถึงข้อผิดพลาดในการเจาะจง ก็อาจท าให้การกระจาย
ทรัพยากรผ่านนโยบายแบบเจาะจงเกิดได้อย่างไม่เต็มที่ การจัดการปัญหาเหล่านี้จึงเป็นกุญแจส าคัญเบื้องต้นที่จะท าให้
สวัสดิการแบบเจาะจงท างานได้ดีกว่า งานศึกษาของ Coady et al. (2004) ยืนยันข้อสังเกตนี้ โดยการศึกษาดังกล่าว
น าเอานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงใน 48 ประเทศมาส ารวจและพบว่าการกระบวนการด าเนินนโยบายที่มีประสิทธิผล
นั้นเป็นปัจจัยที่ส าคัญยิ่งต่อความสัมฤทธิ์ผลของสวัสดิการแบบเจาะจง และประเทศที่ท าสวัสดิการแบบเจาะจงได้ดีกว่าก็
มักจะเป็นประเทศกลุ่มรายได้สูงที่มีรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบทางนโยบายสูงกว่า
34