Page 40 - kpiebook62001
P. 40
ความผิดพลาดในการกีดกันคนที่ควรได้รับสวัสดิการออกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การออกแบบ
โครงการเป็นหนึ่งในสาเหตุส าคัญ เช่น การก าหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์สินก็มักจะท าให้คนที่จนจริง
บางส่วนถูกแยกออกไป เพราะอาจมีทรัพย์สินเหล่านั้นด้วยสาเหตุที่หลากหลาย อีกปัจจัยส าคัญก็คือการที่โครงการถูก
ออกแบบให้คนที่ยากจนอย่างแท้จริงกลับเข้าถึงได้ยาก เช่น มีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลที่ซับซ้อนและยากล าบากจน
คนที่ยากจนไม่สามารถผ่านกระบวนการได้ และแม้ว่าโครงการสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจ านวนมากทั่วโลกมักจะ
ประสบปัญหาการกีดกันคนที่จนจริงออก แต่การที่โครงการเหล่านี้ก็มักจะไม่ได้วัดความส าเร็จด้วยการเข้าถึงของคนจน
จากสัดส่วนของคนจนจริงทั้งหมด แต่มักจะแสดงเพียงจ านวนคนที่เข้าถึงได้ จึงท าให้ความผิดพลาดในรูปแบบนี้มักจะถูก
ละเลยความส าคัญไป (Dutrey, 2007)
ข้อควรค านึงที่ส าคัญก็คือความผิดพลาดในการเจาะจงทั้งสองประการมีความเชื่อมโยงกัน ความพยายามในการ
ให้เกิดความผิดพลาดในการนับรวมน้อยลง โดยมุ่งสร้างเกณฑ์การได้รับสวัสดิการให้เข้มข้นขึ้น สร้างขั้นตอนการ
ตรวจสอบให้มากขึ้น ก็มักจะน าไปสู่ความผิดพลาดในการกีดกันมากขึ้นไปด้วยในเวลาเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เป้าหมาย
การเจาะจงให้ได้เฉพาะคนที่จนจริงเท่านั้นก็อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้ยากและยังสร้างต้นทุนตามมามากมาย ทั้งการ
จะต้องลงทุนกับการบริหารจัดการรวมไปถึงยังส่งผลในการกีดกันคนจนจริงบางส่วนออกไป นอกจากนี้ยังอาจค านึงได้ว่า
หากจะพิจารณาผลกระทบกับผู้คนจากการเจาะจงที่ผิดพลาดแล้ว น้ าหนักของการผิดพลาดในรูปแบบการกีดกันคนที่
ยากจนจริงออกจากการได้รับสวัสดิการจนท าให้ชีวิตของพวกเขาและครอบครัวต้องเผชิญภาวะยากล าบาก แท้จริงแล้วก็
ควรจะมีน้ าหนักมากกว่าการนับรวมที่ผิดพลาดซึ่งเพียงท าให้สูญเสียทรัพยากรของรัฐ (Cornia and Stewart, 1993)
ข้อผิดพลาดในการเจาะจงอาจเกิดได้พร้อม ๆ กับการเจาะจงรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ในกรณีของการเจาะจง
ผ่านการวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ประเทศก าลังพัฒนาจ านวนมากมักจะไม่ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับคนจนที่ดีพอ ท าให้ต้องใช้
ดัชนีตัวแทน (proxy) ในการวัดฐานะ แต่ดัชนีตัวแทนก็มักจะไม่ได้มีศักยภาพสมบูรณ์ในการแสดงถึงฐานะที่แท้จริงจน
ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาด ส าหรับในกรณีของการเจาะจงผ่านกลุ่มคนหรือพื้นที่นั้น ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีข้อผิดพลาดสูง
เพราะกลุ่มคนและพื้นที่ที่ท าการเลือกก็มักจะไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มคนจนเท่านั้น ในกรณีของพื้นที่ แม้จะเลือกบางพื้นที่ที่มี
ระดับความยากจนที่เข้มข้นได้ แต่พื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวอาจมีไม่มากนักในความเป็นจริง สุดท้าย การให้คนจนเลือก
เข้ารับสวัสดิการเองก็อาจพบกับข้อผิดพลาดได้เช่นกัน ในกรณีของการให้สินค้าบางชนิดหรือการจัดหาอาชีพให้คน
ยากจน หากมีคนยากจนจ านวนมากก็อาจไม่มีทรัพยากรในการให้สวัสดิการได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เกิดการกีดกันคนที่
ยากจนจริงออกจากโครงการ (ดู Devereux et al., 2017)
2.3.3 การรั่วไหลของทรัพยากร
ปัญหาและความท้าทายประการสุดท้ายของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงก็คือการรั่วไหลของทรัพยากร โดย
การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นได้เมื่อทรัพยากรที่ควรจะได้รับการกระจายไปสู่คนจนนั้นรั่วไหลไปอยู่ในการครอบครองของคนอื่น
ที่ไม่เหมาะสมแทน การรั่วไหลของทรัพยากรสามารถเกิดขึ้นได้ในสองรูปแบบหลัก ก็คือเกิดจากปัญหาการคอร์รัปชัน
และเกิดจากการกระจายทรัพยากรให้พวกพ้อง
31