Page 44 - kpiebook62001
P. 44

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยส าคัญอีกสองประการที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงกับศักยภาพของสวัสดิการแบบเจาะจง

               ที่คนจน โดยปัจจัยสองประการนี้ไม่ได้โยงอยู่กับปัญหาในการด าเนินนโยบาย แต่โยงอยู่กับผลของสวัสดิการแบบเจาะจง
               ต่อปัจจัยเชิงสถาบันรวมไปถึงขนาดของงบประมาณด้านสวัสดิการโดยรวม

                       ปัจจัยเชิงสถาบัน งานศึกษาของ Korpi (1980) พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ในระยะยาวแล้วสวัสดิการแบบเจาะจงที่

               คนจนนั้นอาจส่งผลให้เกิดการกระจายทรัพยากรได้แย่กว่าสวัสดิการแบบถ้วนหน้าก็คือผลต่อปัจจัยเชิงสถาบัน
               โดยเฉพาะผลต่อลักษณะของการร่วมมือทางการเมืองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ทั้งนี้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน

               มักจะส่งผลให้การร่วมมือระหว่างกลุ่มแรงงานที่ยากจนกับแรงงานที่ฐานะดีกว่าและชนชั้นกลางนั้นเกิดขึ้นได้ยาก และ

               เมื่อความร่วมมือดังกล่าวไม่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลต่อเนื่องให้การสนับสนุนรัฐสวัสดิการนั้นเกิดขึ้นน้อยลงในสังคมโดยรวม
               Korpi เน้นว่าการจะท าให้ปัจจัยเชิงสถาบันของระบบสวัสดิการเกื้อหนุนกับการลดความเหลื่อมล้ าได้นั้น จะต้องสร้าง

               ความรู้สึกในหมู่ประชาชนได้ว่าสวัสดิการเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่ใช่เฉพาะคนจน และด้วยเหตุนี้สวัสดิการแบบถ้วน

               หน้าที่มุ่งรักษามาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนส่วนใหญ่จึงมักจะลงเอยเป็นรูปแบบสวัสดิการที่กระจาย
               ทรัพยากรได้ดีกว่าสวัสดิการแบบอื่น ๆ

                       ขนาดของงบประมาณสวัสดิการ งานศึกษาอีกชิ้นโดย Korpi and Palme (1998) ยังพบปัจจัยอีกประการที่

               ส าคัญที่โยงกับประสิทธิภาพของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในการลดความเหลื่อมล้ า งานศึกษาดังกล่าว
               ศึกษาระบบสวัสดิการในประเทศพัฒนาแล้ว 11 ประเทศและพบว่าปัจจัยที่ส าคัญที่จะช่วยให้ระบบสวัสดิการช่วยเรื่อง

               การกระจายรายได้ได้ก็คือขนาดของรายจ่ายด้านสวัสดิการโดยรวม  ประเทศที่ประสบความส าเร็จในการลดความเหลื่อม

               ล้ าผ่านนโยบายสวัสดิการเช่น เนเธอร์แลนด์และสวีเดน ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีงบประมาณสวัสดิการขนาดใหญ่ ในขณะ
               ที่ประเทศที่ใช้สวัสดิการแบบเจาะจงมากก็มักจะมีขนาดของงบประมาณสวัสดิการจ ากัด ส่งผลต่อเนื่องให้ประเทศเหล่านี้

               ประสบความส าเร็จอย่างจ ากัดในการกระจายรายได้เช่นกัน ข้อสังเกตของ Korpi and Palme (1998) นี้ได้รับการ

               สนับสนุนจากข้อค้นพบในงานอื่น ๆ เช่น Smeeding (2005) และ Nolan and Marx (2009) ซึ่งล้วนแต่ยืนยันว่าปัจจัย
               ส าคัญที่จะช่วยให้ระบบสวัสดิการลดความเหลื่อมล้ าได้นั้นก็คือตัวขนาดของงบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการเอง

               นอกจากนี้ อีกปัจจัยส าคัญที่โยงกับประเด็นเรื่องงบประมาณสวัสดิการก็คือความเสี่ยงที่งบประมาณจะโดนตัดลง โดย

               งานศึกษาของ Nelson (2007) พบว่าภายใต้บริบทที่สภาพเศรษฐกิจไม่ดีนั้นนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนนั้นมี
               ความสุ่มเสี่ยงมากกว่านโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้าในการโดนตัดงบประมาณ


                   2.4.2 ปัจจัยที่เกื อหนุนให้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนเอื อต่อการลดความยากจนและความเหลื่อมล ้า

                       แม้ว่าข้อสังเกตจากงานศึกษาข้างต้นจะเน้นถึงความจ ากัดของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในการช่วยลด

               ความเหลื่อมล้ า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไม่ได้เสียทีเดียว
               งานศึกษาของ Marx et al. (2013) พบว่าการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

               มีส่วนช่วยให้ผลของสวัสดิการแบบเจาะจงต่อความเหลื่อมล้ าไม่ได้จ ากัดอย่างเช่นในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ปัจจัยที่จะ

               สามารถท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงเอื้อต่อการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าจะมีอะไรได้บ้าง ในส่วนนี้


                                                               35
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49