Page 41 - kpiebook62001
P. 41
การคอร์รัปชัน ที่เกิดในสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐที่ท าหน้าเกี่ยวข้อง
กับการเลือกผู้ได้รับสวัสดิการนั้นมีอ านาจในการเลือกสูงและไม่ต้องเผชิญการตรวจสอบ ในสภาพเช่นนี้ ตัวเจ้าหน้าที่รัฐก็
อาจมีแรงจูงใจจะใช้อ านาจหน้าที่ตัวเองในดึงเอาทรัพยากรเข้าสู่ตนเอง ตัวอย่างเช่น หากการกระจายสวัสดิการแบบ
เจาะจงที่คนจนใช้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้หารายชื่อคนยากจนมาให้รัฐช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่รัฐก็อาจใช้หน้าที่ดังกล่าวระบุชื่อ
คนยากจนที่ไม่ได้มีอยู่จริงบางส่วนเพื่อดึงทรัพยากรไว้กับตนเอง หรืออาจไม่ได้กระจายทรัพยากรที่ได้รับมาไปสู่คน
ยากจนทั้งหมด
การคอร์รัปชันทรัพยากรของสวัสดิการแบบเจาะจงนั้นเกิดขึ้นได้ในสัดส่วนที่สูง งานศึกษาของ Reinikka and
Svensson (2004) ซึ่งส ารวจโครงการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้กับโรงเรียนที่ยากจนในอูกันดาพบว่าทรัพยากรที่ถูก
จัดสรรให้นั้นรั่วไหลไปสู่นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐสูงถึงเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่งานศึกษาของ Asian
Development Bank (2005) ที่ส ารวจนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงในอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน พบว่า
โครงการในลักษณะอุดหนุนอาหารและสินเชื่อ (food and credit subsidy programs) รวมถึงโครงการอุดหนุนการ
จ้างงานนั้น มักจะมีสัดส่วนการคอร์รัปชันสูง ตัวอย่างที่น่าตกใจก็เช่นโครงการจ้างงานคนจนในประเทศอินเดีย ซึ่งคนจน
ได้รับประโยชน์เพียงแค่ประมาณหนึ่งในสี่ของงบประมาณทั้งหมดที่มุ่งหวังให้ไปช่วยสนับสนุนคนจน
การกระจายทรัพยากรให้พวกพ้อง การรั่วไหลของสวัสดิการแบบเจาะจงอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้มาจากสาเหตุ
ของการคอร์รัปชันเสียทีเดียว แต่มาจากการที่ผู้ที่ทีอ านาจกระจายสวัสดิการเลือกจะให้สวัสดิการกับคนที่ใกล้ชิดกับ
ตนเองก่อน ในกรณีของการกระจายทรัพยากรผ่านเจ้าหน้าที่รัฐ ปัญหาเช่นนี้อาจมาจากการที่พวกเขาเลือกพื้นที่หรือ
กลุ่มคนที่เป็นฐานอ านาจทางการเมืองของตนเองเป็นผู้ได้รับสวัสดิการ ตัวอย่างเช่น สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนใน
ฟิลิปปินส์นั้นมักจะได้รับอิทธิพลจากการตัดสินใจทางการเมือง โครงการ Care for the Poor ที่รัฐบาลฟิลิปปินส์เคย
ด าเนินการในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อช่วยตอบความต้องการพื้นฐานของคนจน มีสัดส่วนงบประมาณที่
ผู้แทนราษฎรเข้ามาตัดสินใจสูงถึงสองในสาม (Balisacan et al., 2000).
ปัญหาการกระจายทรัพยากรให้พวกพ้องยังมักจะเกิดกับการเจาะจงสวัสดิการด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐาน โดย
งานศึกษาจ านวนมากพบว่าการใช้ชุมชนเป็นฐานการเลือกผู้ได้รับสวัสดิการมักจะหลีกเลี่ยงสภาพที่ผู้น าชุมชนมักจะเข้า
มามีบทบาทตัดสินใจว่าใครควรจะเป็นผู้ได้รับสวัสดิการ ผลของการที่ผู้น าชุมชนเข้ามามีส่วนตัดสินใจนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้ง
ในทางที่ดีและไม่มี งานศึกษาหลายชิ้นพบว่าผู้น าอาจตัดสินใจกระจายทรัพยากรไปให้กับคนที่ยากจนอยู่ดี (Mansuri
2012) แต่กระนั้นก็ยังมีงานอีกจ านวนหนึ่งที่พบว่าในบริบทที่ชุมชนมีความเหลื่อมล้ าสูงและไม่มีกระบวนการตรวจสอบ
ผู้น าท้องถิ่นที่ดีพอ ผู้น าก็มักจะตัดสินใจกระจายทรัพยากรสู่คนที่ใกล้ชิดก่อนและละเลยเป้าหมายการเจาะจงที่คนจนได้
(Araujo et al. 2008, Conning and Kevane, 2000) นอกจจากนี้ อีกปัจจัยที่ควรค านึงถึงในกรณีของการกระจาย
ทรัพยากรด้วยชุมชนก็คือหากการกระจายนั้น ๆ ใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกระบวนการตัดสินใจ ผลที่เกิดขึ้นก็
อาจจะได้รับอิทธิพลจากการที่คนที่มีฐานะที่ดีกว่าในชุมชนนั้นมักจะมีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมได้มากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้การ
เจาะจงที่คนจนไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่เช่นกัน (Mansuri and Rao, 2003)
32