Page 102 - kpiebook62001
P. 102
ค่าใช้จ่ายของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้งบประมาณในปี พ.ศ. 2561 ถึง 89,905 ล้านบาทต่อปี (หรือประมาณ
5,924 บาทต่อคนต่อปี) ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้หักต้นทุนที่ใช้จ่ายเพียงครั้งเดียว เช่น การผลิตและจัดส่งบัตร และ
ตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างสูงเพราะว่าได้รวมมาตรการเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเข้ามาด้วย และถ้าสมมติหัก
ค่าใช้จ่ายครั้งเดียวและงบประมาณส าหรับมาตรการเสริมออกไป ก็จะอยู่ที่ประมาณปีละ 48,358 ล้านบาทต่อปี (หรือ
ประมาณ 3,335 บาทต่อคนต่อปี) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีความแตกต่างค่อนข้างมากซึ่งสาเหตุมาจากมาตรการเพิ่มเติม
เพื่อให้เห็นภาพของขนาดงบประมาณ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้งบประมาณมากกว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
และสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในแต่ละปี และมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใน
แต่ละปี อย่างไรก็ตาม การชี้วัดว่าต้นทุนของโครงการนั้นเหมาะสมหรือไม่อาจเป็นเรื่องที่มีข้อจ ากัดมากมาย เนื่องจาก
การเปรียบเทียบงบประมาณของโครงการสวัสดิการต้องศึกษาในหลากหลายมิติ เช่น ประโยชน์ที่ได้รับสวัสดิการ
กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
4.2.4 ประสิทธิผล
ประสิทธิผลของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงขึ้นอยู่กับว่าสวัสดิการแบบเจาะจงนั้นสามารถส่งผลต่อ
กลุ่มเป้าหมายได้ดังที่ต้องการได้เพียงไร ประการแรกจะขอกล่าวถึงปัญหาความผิดพลาดในการนับรวม (inclusion
error) และปัญหาความผิดพลาดในการกีดกัน (exclusion error) ซึ่งส่งผลให้นโยบายไม่สามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ จาก
การสัมภาษณ์ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น คนในชุมชนไม่รู้สึกว่ามีปัญหานี้กับคนรอบตัวนัก เพราะส่วนใหญ่เวลาที่มีข่าว
ประชาสัมพันธ์ก็จะชักชวนกันไปลงทะเบียน จึงไม่ค่อยมีใครตกหล่น จะมีการตกหล่นเฉพาะบางคนที่สมัครใจไม่ไป
ลงทะเบียนเอง ทั้ง ๆ ที่อาจจะมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ที่ก าหนด ส่วนปัญหาความผิดพลาดในการกีดกันนั้นก็ไม่พบอย่าง
ชัดเจนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมข่าวตั้งแต่เริ่มมีการแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิด
ปัญหาความผิดพลาดในการนับรวม เช่น นายวัชรินทร์ ตันกุรานันนท์ ที่มีบัตรคนจนแต่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าใช้ชีวิตหรูหรา
บนสังคมออนไลน์ (โพสต์ทูเดย์, 2560) นางธนวรรณ พานแพน เปิดร้านขายน้ าแข็งที่จังหวัดเชียงราย โพสต์ภาพลง
สังคมออนไลน์และถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องสร้อยทองเส้นโต (ไทยรัฐ, 2561) หรือกรณีที่มีผู้จบการศึกษาปริญญาเอกจ านวน
5 คนซึ่งอยู่ระหว่างการฟ้องร้องคดีชดใช้ทุนเล่าเรียน และยังว่างงานอยู่ ก็มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง
ก าหนด (ไทยพีบีเอส, 2560)
ส าหรับความผิดพลาดในการกีดกันมีกรณีเช่น ‘ลุงด า’ หรือนายสุชิน เอี่ยมอิน เป็นแกนน ากลุ่มคนไร้บ้านจึงต้อง
มีชื่อในบัญชีที่เปิดขึ้นมาเพื่อระดมทุน และนางหนูเกณ อินทจันทร์ ซึ่งท าอาชีพขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง ก็มีบัญชีกลุ่มออม
ทรัพย์ที่ก่อตั้งร่วมกับสมาชิกในชุมชนแออัดหลายแห่งในกรุงเทพฯ ทั้งคู่มีเงินในบัญชีเกิน 100,000 บาทจึงไม่ได้รับบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐ (ธันยพร, 2560) หรือกรณีล่าสุดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ประชาชนจังหวัดเลยเดินทางเข้า
ร้องเรียนที่ศาลากลางจังหวัดว่ายังมีคนจนจ านวนมากที่ตกหล่นไป เนื่องจากชาวบ้านเข้าไม่ถึงการประชาสัมพันธ์
ช่วงเวลาที่เปิดให้ลงทะเบียนค่อนข้างสั้น และโครงการไทยนิยม ยั่งยืนก็เข้าไม่ถึงชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว (มติชนออนไลน์,
93