Page 27 - kpiebook62010
P. 27

20






               ประชาชนทุกคนโดยต่างยินยอมพร้อมใจ มอบอำนาจทุกอย่างที่มีอยู่ร่วมกันภายใต้อำนาจสูงสุดอันเป็นเจตนารมณ์

               ร่วมกันของสังคมมิใช่ของคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น “รัฐ” คืออำนาจอธิปไตยอันมาจากประชาชนทุกคนโดยต่างยินยอม
               พร้อมใจ มอบอำนาจทุกอย่างที่มีอยู่ร่วมกันภายใต้อำนาจสูงสุดอันเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคมมิใช่ของคนใด
               คนหนึ่งและสมาชิกแต่ละคนจึงเท่ากับเชื่อฟังตนเอง ซึ่งใน “อำนาจ” อันเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคมนี้ จึงเป็น

               เจตนารมณ์ร่วมกันที่สูงสุด ที่เรียกว่าสัญญาประชาคม และเมื่อสังคมมีสัญญาประชาคมดังกล่าวแล้ว จะเป็นสังคม
               ที่มีอิสระเสรีภาพ เพราะแต่ละคนย่อมสละเสรีภาพให้ทุกคน จึงมีผลเท่ากับตัวเองเชื่อฟังตัวเอง และแต่ละคน
               ต่างสละสิทธิเสรีภาพของตนให้แก่ทุกคน ดังนั้นแต่ละคนจึงได้รับในสิ่งที่ตนสละ 33


                             สำหรับความหมายของสิทธิและเสรีภาพว่าแตกต่างกันอย่างไรนั้น อันที่จริงแล้วสิทธิและเสรีภาพ
               มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันโดยใกล้ชิด ทำให้ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพิจารณา หรือศึกษาสิทธิและเสรีภาพนี้

               ไปควบคู่กัน และมักจะเรียกไปโดยรวมกันเป็นคำเดียวกันว่า “สิทธิและเสรีภาพ” อย่างไรก็ดี “สิทธิ” นั้นมีความ
               แตกต่างจาก “เสรีภาพ” อยู่บ้างในสาระสำคัญ


                             “สิทธิ” นั้น ในความหมายอันเป็นที่เข้าใจกันในระบบกฎหมายทั่วไป หมายถึง “ประโยชน์ที่
               กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้”


                             มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “สิทธิ” ไว้ดังต่อไปนี้


                             หยุด แสงอุทัย ให้ความหมายของคำว่า “สิทธิ” เอาไว้ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าสิทธิใน
               หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งสามารถปรับใช้ได้ทั้งกับกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนไว้ว่ามีสองความหมาย ได้แก่
               การมองจากอำนาจของผู้ทรงสิทธิ คือคือ “อำนาจที่กฎหมายให้แก่บุคคลในอันที่จะมีเจตจำนง” อันเป็น

               แนวความคิดของ Willensmacht และการมองจากวัตถุประสงค์ของสิทธิ คือ “ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองให้”
               อันเป็นแนวความคิดของ Jhering
                                          34

                             วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ มีความเห็นในเรื่อง “สิทธิ” นี้ว่า หมายถึง “ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและ
               คุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่จะกระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต
               ร่างกาย” 35


                             อุดม รัฐอมฤต และคณะ มีความเห็นเรื่อง “สิทธิ” นี้ว่า หมายถึง “อำนาจที่กฎหมายรับรองให้
               แก่บุคคลในอันที่จะกระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและบุคคลอื่น... หรือเรียกร้องให้บุคคลอื่น หรือหลายคน

               กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการบางอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตน” 36



               
     33   บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. อ้างแล้ว.  หน้า 55 - 57

               
     34   หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (2545) (กรุงเทพฯ : ประกายพรึก) หน้า 225 - 226
               
     35   วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. (2543) (กรุงเทพฯ : วิญญูชน) หน้า 22
               
     36   อุดม รัฐอมฤต และคณะ. การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28. (กรุงเทพฯ :
               สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) หน้า  86









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32