Page 26 - kpiebook62010
P. 26

19






               2.3 สิทธิหรือสวัสดิภาพของสัตว์เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิและ

                      เสรีภาพของมนุษย์



                     เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์กับแนวคิดเรื่องสิทธิหรือสวัสดิภาพของสัตว์
               ประการแรก จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพในมุมมองของมนุษย์เสียก่อนในเบื้องแรก ก่อนที่จะ
               วิเคราะห์วิพากษ์ได้ว่าสัตว์นั้นมีสิทธิหรือเสรีภาพหรือไม่หากนำมาเปรียบเทียบกับมุมมองเรื่องสิทธิและเสรีภาพของ

               มนุษย์

                     2.3.1  หลักการเรื่องสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์


                             ในทางปรัชญาแล้ว แนวความคิดเรื่องของสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ เริ่มปรากฏขึ้นแต่ในยุคกรีก
               โดยอริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ย่อมมีเสรีภาพในการเลือก และด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง
                                                                                         30
               ย่อมช่วยให้เขาเข้าถึงกฎธรรมชาติได้ และ ณ จุดนี้เองคือเสรีภาพที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์”  โดยแนวความคิดนี้
               ถือว่า มนุษย์นั้นมีเสรีภาพอยู่แล้วตามกฎธรรมชาติ ภายใต้เหตุผลที่ถูกต้องเนื่องจากภูมิปัญญาของมนุษย์

                             แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมา นับแต่แนวความคิดระยะแรก

               ที่เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีธรรมชาติที่เห็นแก่ตัวและโหดร้าย หากใช้เสรีภาพของมนุษย์แต่ละคนสังคมจะขัดแย้งวุ่นวาย
               ได้แก่ แนวความคิดของโทมัส ฮอปส์  ในแนวความคิดนี้ มนุษย์แต่ละคนจึงควรสละเสรีภาพเสียเพื่อเพื่อความ
               สงบสุขและทำสัญญา ให้รัฐนั้นเป็นผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อรักษาความสงบของสังคม  ไปสู่แนวความคิดเรื่อง
                                                                                      31
               สัญญาประชาคม ของ จอห์น ล็อค  ซึ่งมีแนวความคิดที่แตกต่างกันกับฮอปส์ คือ ล็อคเชื่อว่ามนุษย์เรานั้น
               มีธรรมชาติที่รักสงบ มีจิตใจดีงามช่วยเหลือกัน แต่ความที่มนุษย์เราแต่ละคนมีเสรีภาพตามธรรมชาติอันเท่าเทียม
               กันนั่นเอง ทำให้ไม่มีสภาพบังคับระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน จึงเกิดความขัดแย้ง และไม่มั่นคงปลอดภัย มนุษย์

               จึงได้เข้ามาสละสิทธิตามธรรมชาติที่จะบังคับกันเองเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ และโอนสิทธิในการบังคับกันนี้ไว้ให้แก่
               สังคมเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ผู้เดียว ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความต้องการความมั่นคงในทางทรัพย์สินและความปลอดภัยของ
               มนุษย์ ซึ่งมนุษย์ไม่ได้สละเสรีภาพทั้งหมดให้สังคม แต่เป็นการสละเสรีภาพบางส่วนเพื่อความผาสุกร่วมกัน แต่

                                       32
               มนุษย์ยังคงมีเสรีภาพอื่นๆ อยู่
                             และในที่สุด แนวความคิดที่ว่า มนุษย์สละเสรีภาพของตนเพื่อความมั่นคงและผาสุกของสังคม

               ก็มีการพัฒนาไปสู่แนวความคิดเรื่องของอำนาจรัฐ ซึ่งปรากฎใน ทฤษฎีสัญญาประชาคม ของ ฌอง ฌาค รุสโซ
               ที่กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนอยู่อย่างมีอิสระเสรี มีความเท่าเทียมกัน ต่อมามนุษย์แต่ละคนได้มารวมตัวกันเข้าโดยสมัคร
               ใจเป็น สังคมนั้นมารวมตัวกันมอบอำนาจอันเป็นของตนไว้แก่สังคม หรือ “รัฐ” คืออำนาจอธิปไตยมาจาก



               
     30   อุดม รัฐอมฤต และคณะ. การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28. (2544)
               (กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) หน้า 34

               
     31   บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชนเล่ม 1 : วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ
               (2538) (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม). หน้า 26
               
     32   บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. อ้างแล้ว. หน้า 46 - 47








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31