Page 23 - kpiebook62010
P. 23
16
ได้มองถึงขนาดว่า ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่รองรับว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่มีสิทธิพิเศษ เช่นที่หนูก็เท่ากับหมู
25
หมูก็เท่ากับสุนัข หรือสุนัขก็เท่ากับเด็ก หรือที่ เฮนรี ซอลต์ (Henri Salt) กล่าวว่าสาธารณรัฐอันยิ่งใหญ่ของ
อนาคตจะไม่จำกัดความดีงามของตนไว้ที่มนุษย์
นักสิทธิสัตว์จึงถือว่า เพียงเพราะการที่ชีวิตหนึ่งถูกถือต่ำกว่าอีกชีวิตหนึ่งในลำดับขั้นอะไรสัก
อย่าง ไม่ได้ให้สิทธิแก่ชีวิตที่ถือว่าตนสูงกว่าในการขูดรีดประโยชน์ ทรมาน หรือฆ่าชีวิตนั้น การปฏิบัติต่อชีวิตอื่น
อย่างมีมนุษย์ธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมเมื่อพบว่า ชีวิตหนึ่งสามารถรับรู้ความทุกข์และความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน
และสัตว์ควรมองว่ามีสิทธิบางประการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างไม่ทุกข์ทรมาน ไม่ถูกทำร้าย หรือถูกทารุณ โดยผู้ที่เห็นว่า
ตนเองเหนือกว่า
ส่วนนักคิดแนวสิทธิสัตว์อีกคนหนึ่งคือ ทอม เรแกน (Tom Regan) นั้นเชื่อว่าสิทธิทาง
จริยธรรมของมนุษย์นั้นมีพื้นฐานจากการมีความสามารถที่เกี่ยวกับระบบการรับรู้หรือความคิด และสัตว์ก็มี
ความสามารถดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้นสัตว์จึงควรมีสิทธิทางจริยธรรมเช่นเดียวกับมนุษย์ ไม่แม้แต่มนุษย์เท่านั้น
ที่สามารถแสดงออกซึ่งจริยธรรมดังกล่าวได้ สัตว์เองก็สามารถแสดงออกถึงจริยธรรมได้ในสถานะของจริยธรรม
ที่ไม่สมบูรณ์ (Moral patients) เนื่องจากสัตว์ขาดความสามารถในการแยกแยะถูกผิดในเชิงเหตุผล ไม่อาจระบุ
ได้ว่าสิ่งไหนถูกหรือผิดแม้ว่าสิ่งนั้นอาจให้ผลประโยชน์หรือโทษกับตนก็ตาม เช่นสุนัขไม่อาจบอกได้ว่าการกัดมนุษย์
เป็นเรื่องถูกหรือผิด รู้เพียงว่าในสถานการณ์ตอนนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ นอกจากนี้ในมุมมองของเรแกนนั้นสัตว์
มีคุณค่าตามธรรมชาติในฐานะประธานแห่งสิทธิและมนุษย์มีหน้าที่โดยตรงในการเคารพสิทธิของสัตว์ อย่างไรก็ตาม
แนวคิดของเรแกนไม่ได้ขยายความว่าสัตว์สามารถเป็นประธานแห่งสิทธิของตนได้อย่างไร เพียงแต่เป็นการอธิบาย
ความเป็นประธานแห่งสิทธิของสัตว์เท่านั้น 26
แต่อย่างไรก็ตาม แม้แนวความคิดแบบสิทธิสัตว์นี้จะยอมรับสถานะทางจริยธรรมของสัตว์
ที่มีเหมือนกับมนุษย์บางประการ แต่ก็ยังยอมรับว่าสัตว์ไม่สามารถมีสิทธิตามธรรมชาติได้ เนื่องจากการให้น้ำหนัก
ขอบเขต และความสำคัญของผลประโยชน์ที่สัตว์ควรจะได้รับมนุษย์เป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น มนุษย์ไม่สามารถบอกได้ว่า
ความเจ็บปวดที่สัตว์รับมากน้อยแตกต่างจากมนุษย์อย่างไร และสัตว์เองย่อมไม่สามารถบอกถึงความต้องการของ
ตนได้ทั้งหมด ดังนั้นหลักการของแนวคิดสิทธิสัตว์จึงไม่ใช่การปฏิบัติต่อสัตว์ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่ควรได้รับสิทธิเป็น
พิเศษ แต่เป็นการพิจารณาความเท่าเทียมกันเชิงผลประโยชน์ที่สัตว์ควรได้รับ
ดังนั้น แนวคิดแบบสิทธิสัตว์นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้สัตว์สามารถทำอะไรก็ได้เช่นเดียว
กับมนุษย์ แต่หมายถึงให้สัตว์อยู่อย่างอิสระ ไม่ต้องถูกฆ่าหรือทรมาน แนวคิดแบบสิทธิสัตว์นี้ปฏิเสธแม้แต่สิทธิของ
มนุษย์ที่จะฆ่าสัตว์เพื่อกินเนื้อ หรือนำสัตว์มาใช้งานเพื่อประโยชน์ของมนุษย์แนวคิดแบบ “สิทธิสัตว์” นี้มองว่า
สิทธิที่สัตว์พึงได้รับ คือการได้รับการปลดปล่อยจากมนุษย์ หรือ “Animal liberation” ซึ่งเป็นชื่อของหนังสือ
ของปีเตอร์ ซิงเกอร์ ที่ตีพิมพ์ในปี 1975 (พ.ศ. 2518) นั่นเอง
25 ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. อ้างแล้ว. หน้า 76
26 ประพิมพ์พรรณ เงินทิพย์. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (2554). (กรุงเทพฯ :
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หน้า 49
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557