Page 22 - kpiebook62010
P. 22
15
สัตว์ยังคงจัดว่าเป็นทรัพย์สิน ดังนั้น สถานะของสัตว์ในทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสนั้น
จึงเป็นสถานะพิเศษที่ไม่ใช่เพียงสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
22
สถานะของสัตว์ในกฎหมายสมัยใหม่นี้ อยู่ภายใต้แนวความคิดสองแนวที่สนับสนุน คือแนวคิด
เรื่องสิทธิสัตว์ และแนวคิดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์
ก. แนวคิดแบบ “สิทธิของสัตว์” (Animal Right)
แนวคิดสำคัญคือถือว่าสัตว์เป็นผู้ทรงสิทธิในฐานะของสิ่งมีชีวิตอีกเผ่าพันธ์หนึ่ง ซึ่งมนุษย์
จำเป็นจะต้องเคารพ แนวคิดแบบ “สิทธิของสัตว์” (Animal right) นั้นเริ่มต้นมาจากการต่อต้านแนวคิดแบบ
“เผ่าพันธุ์นิยม” (Speciesism) ที่เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีความหลงในเผ่าพันธุ์ตัวเองว่าเหนือกว่าเผ่าพันธุ์อื่นๆ และ
ถือว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์สามารถปฏิบัติต่อเผ่าพันธุ์อื่นอย่างไรก็ได้ เพราะมนุษย์มีอำนาจและเจตจำนงที่จะทำเช่นนั้น
ปีเตอร์ ซิงเกอร์ (Peter Singer) นักคิดแนวสิทธิสัตว์กล่าวไว้ว่า “เผ่าพันธุ์นิยม คือ อคติ หรือท่าที ที่เอนเอียงสู่
ผลประโยชน์ของสมาชิกในเผ่าพันธุ์ตนเอง และต่อต้านผลประโยชน์ของเผ่าพันธุ์อื่น” เผ่าพันธุ์นิยมสนับสนุน
23
ความเห็นที่ว่า มนุษย์ต่างจากเผ่าพันธุ์อื่นทั้งหลายทั้งปวง และความแตกต่างนั้นสำคัญและเป็นตัวชี้ขาดอย่าง
เบ็ดเสร็จเกี่ยวกับลักษณะของเราและของสัตว์อื่นเมื่อมนุษย์ถูกครอบงำโดยแนวคิดแบบเผ่าพันธุ์นิยม มนุษย์จึงถือ
เอาว่าเผ่าพันธุ์ของตนนั้นสำคัญยิ่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั้งหมด และปฏิบัติต่อสิ่งอื่นอย่างไม่ใส่ใจและไม่ให้คุณค่า
เผ่าพันธุ์นิยมสนับสนุนให้มนุษย์ถือสัตว์อื่นว่าเป็นวัตถุ เพื่อการใช้งาน การทารุณ หรือเพื่อความบันเทิงของมนุษย์
โดยไม่แยแสสนใจต่อความทุกข์และความเจ็บปวดของสิ่งมีชีวิตทีไม่ใช่มนุษย์ ดังนั้นเมื่อค่านิยมใหม่มนุษย์เรา
ต่างมองว่า การเหยียดเพศหรือการเหยียดผิวเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสียแล้ว เช่นนี้การเหยียดเผ่าพันธุ์ระหว่างมนุษย์
และสัตว์ก็ควรที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเช่นเดียวกัน 24
ความแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ในเรื่องการใช้เหตุผลและภาษานั้น ในแนวคิดแบบ
นักสิทธิสัตว์เห็นว่าไม่ควรเป็นเหตุผลที่สนับสนุนให้มนุษย์กระทำอะไรบางอย่างต่อชีวิตสัตว์อื่นได้ตามใจชอบ
ซิงเกอร์เห็นว่า การขาดการมีเหตุผลหรือภาษา ไม่ได้หมายความว่าสิ่งๆหนึ่งไม่ทุกข์ทรมานหรือไม่มีผลประโยชน์
คุณสมบัติของมนุษย์เหล่านี้ควรเป็นสาระสำคัญที่จะถือว่าสัตว์นั้นไม่มีสิทธิในแนวคิดแบบนักสิทธิสัตว์แล้ว
ความแตกต่างทางสายพันธุ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์นั้นอยู่ในระดับเดียวกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ เพศ และสีผิว
นั่นเอง กล่าวคือเราไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อกันเพียงเพราะมีเพศและสีผิวที่แตกต่าง เราก็ไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อกัน
เพียงเพราะมีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันเช่นกันนักคิดแนวสิทธิสัตว์อีกคนหนึ่งคือ อิงกริด นิวเคอร์ค (Ingrid Newkirnk)
22
LOI n° 2015-177 du 16 février 2015 relative à la modernisation et à la simplification du droit et des
procédures dans les domaines de la justice et des affaires intérieures (1) - Article 2. Legifrance. (สืบค้นเมื่อ
มิถุนายน 2560, สืบค้นจาก : https://www.legifrance.gouv.fr/eli/loi/2015/2/16/2015-177/jo/article_2
th
23 Peter Singer. Animal Liberation: The Definitive Classic of the Animal Movement (40 Anniversary
Edition) Open Road Media P.7
24 Richard D Ryder. Speciesism Again: the original leaflet. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2559 สืบค้นจาก : http://
www.veganzetta.org/wp-content/uploads/2013/02/Speciesism-Again-the-original-leaflet-Richard-Ryder.pdf
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557