Page 25 - kpiebook62010
P. 25
18
(2) มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from
discomfort) โดยมนุษย์มีหน้าที่ต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพเหมาะสมสำหรับสัตว์ตามธรรมชาติของสัตว์แต่ละ
ชนิด
(3) มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค (Freedom from pain,
injury and disease) โดยมนุษย์มีหน้าที่จะต้องจัดระบบการป้องกันโรคที่ดี รวมถึงการให้การรักษาสัตว์ที่
เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ
(4) มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress)
โดยมนุษย์มีหน้าที่ในการที่จะไม่ทำให้สัตว์เกิดความหวาดกลัวหรือทุกข์ทรมานทางจิตใจ
(5) มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal
behavior) โดยมนุษย์มีหน้าที่ในการจัดให้สัตว์ได้อยู่เป็นอย่างธรรมชาติตามแต่ชนิดของสัตว์นั้นๆ
แนวคิดแบบสวัสดิภาพของสัตว์จะมองการคุ้มครองสัตว์ว่าเป็นเสมือนหน้าที่ทางศีลธรรม
ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสัตว์ แนวคิดแบบสวัสดิภาพสัตว์นี้มีแกนความคิดอยู่ว่า แม้ว่ามนุษย์จะมีสิทธิใช้ประโยชน์จาก
สัตว์ได้ แต่มนุษย์ก็ไม่พึงมองสัตว์ว่าเป็นเช่นทรัพย์สินธรรมดาที่จะกระทำต่อสัตว์อย่างไรก็ได้ แม้สัตว์จะไม่มีสิทธิ
หรือสถานะอย่างเต็มที่ในทางศีลธรรมและในทางกฎหมาย แต่สัตว์ก็ไม่สมควรที่จะถูกกระทำทารุณโดยไม่จำเป็น
การทารุณกรรมต่อสัตว์เป็นการลดคุณค่าในความเป็นมนุษย์เอง แนวคิดแบบสวัสดิภาพสัตว์นั้นเป็นเหมือนทาง
สายกลาง ที่พัฒนาต่อจากการคุ้มครองสัตว์ด้วยเหตุผลเชิงศีลธรรม แต่ก็ไม่ได้ไปไกลถึงขนาดมองว่าสัตว์นั้น
เป็นผู้ทรงสิทธิซึ่งยังเป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติและมีข้อถกเถียง นอกจากนี้แนวคิดแบบสวัสดิภาพสัตว์ยังสามารถ
อธิบายได้ในทางปฏิบัติมากกว่า ทำไมมนุษย์จึงยังใช้ประโยชน์จากสัตว์ได้ ไปพร้อมๆ กับการเคารพและยอมรับ
ในคุณค่าในฐานะสิ่งมีชีวิตของมัน แนวคิดแบบสวัสดิภาพสัตว์นี้จึงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้เป็นกฎหมายที่มีผลใช้
บังคับได้จริงในหลายประเทศทั่วโลก
จากการศึกษาทั้งแนวคิดเรื่องสิทธิของสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์ เห็นว่า แนวคิดทฤษฎีที่นำมา
ปรับใช้กับการวิจัยครั้งนี้ซึ่งสอดคล้องกับบริบทางกฎหมายของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 นั้น ได้แก่แนวคิดแบบ “สวัสดิภาพสัตว์” มากกว่า เนื่องจากเมื่อพิจารณาในองค์รวม
ของพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าพระราชบัญญัตินั้นไม่ได้ห้ามการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด หรือไม่ได้มีมุมมอง
ว่าสัตว์เป็นผู้ทรงสิทธิ แต่มองในแง่ที่ว่าสัตว์คือสิ่งมีชีวิตที่พึงจะต้องได้รับการจัดสวัสดิภาพให้ และป้องกันมิให้ผู้ใด
กระทำการทารุณกรรมต่อสัตว์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยที่พระราชบัญญัติดังกล่าวยังยอมรับให้มนุษย์สามารถ
ฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทำการทดลองในสัตว์ หรือสามารถนำสัตว์มาต่อสู้กันตามประเพณีได้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557