Page 60 - kpiebook62010
P. 60
53
อาญา พ.ศ. 2499 แทนกฎหมายลักษณะอาญาที่มีมาแต่เดิม บทบัญญัติทั้งสองนี้ก็ได้รับการปรับปรุงเป็นสองฐาน
ความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย ดังจะได้กล่าวต่อไป
4.1.2 บทบัญญัติเกี่ยวกับสัตว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น สัตว์ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง โดยบัญญัติถึงการได้มา
ซึ่งกรรมสิทธิในสัตว์ไว้ใน บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 1 ในมาตรา 1320 ถึงมาตรา 1322 ดังนี้
“มาตรา 1320 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่าสัตว์ป่า
ไม่มีเจ้าของตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์ และปลาในบ่อหรือในที่น้ำซึ่งเจ้าของกั้นไว้นั้น ท่านว่า
ไม่ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ
สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น ถ้ามันกลับคืนอิสระและเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตาม
เสียแล้ว ฉะนี้ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
สัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้ว ถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ”
“มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ใน
ที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดี หรือจับได้ในที่ดิน หรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของมิได้แสดงความหวงห้าม
ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์”
“มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไปและบุคคลอื่นจับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือ
สัตว์นั้นตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าบุคคลแรกเป็นเจ้าของสัตว์”
กล่าวโดยสรุป ตามนัยแห่งมาตราทั้งสามของประมวลกฎหมายแพ่งนี้ แสดงให้เห็นว่า สัตว์นั้น
ถือเป็นทรัพย์สินที่อาจถือเอาเป็นกรรมสิทธิแก่บุคคลได้ หากบุคคลนั้นได้จับสัตว์มาโดยชอบ ได้แก่จับมาได้จาก
ที่สาธารณะ หรือที่อันมีเจ้าของแต่เจ้าของไม่ได้หวงห้าม ผู้นั้นก็ถือเป็นเจ้าของสัตว์ได้ ส่วนสัตว์ที่เป็นอิสระ หรือสัตว์
ที่พ้นจากเจ้าของไปแล้ว หรือสัตว์ที่ถูกจับได้แล้วหลุดไปโดยเจ้าของไม่ไปติดตามเอาคืน ถือว่าเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ
นอกจากนี้ สัตว์พาหนะ ยังถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์พิเศษ ที่ในการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือ
และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาไม่แล้วจะเป็นโมฆะ ตามมาตรา 456 เป็นทรัพย์อันจำนองได้ตามมาตรา
703 เป็นสังหาริมทรัพย์ที่การได้มาจะบริบูรณ์ได้เมื่อจดทะเบียน ตามมาตรา 1302 และถือเป็นสังหาริมทรัพย์
พิเศษที่เทียบเท่าอสังหาริมทรัพย์ในอีกหลายมาตรา ส่วนคำนิยามของ “สัตว์พาหนะ” นั้นไม่ปรากฎในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงต้องใช้นิยามตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะที่มีใช้อยู่ในขณะนั้น
และเมื่อ “สัตว์” นั้นถือเป็นทรัพย์แล้ว เจ้าของทรัพย์ก็จะต้องมีความรับผิดในกรณีที่ทรัพย์คือสัตว์
ของตนก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นด้วย ดังปรากฎในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ
5 หมวด 1 มาตรา 433 ดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557