Page 63 - kpiebook62010
P. 63

56






                             (2) พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พุทธศักราช 2499 3


                             (3) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

                             (4) พระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ. 2509


                             (5) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523

                             (6) พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 4

                             (7) พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533


                             (8) พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 5

                             (9) พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535


                             (10) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

                             (11) พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540


                             ท้งนี้ อาจจะแบ่งกฎหมายเหล่านี้ได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

                     
   
   ก. กฎหมายจัดการสัตว์เพื่อสุขอนามัยของมนุษย์ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์

               พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่าย
               เนื้อสัตว์ พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์


                     
   
   ข. กฎหมายเพื่อจัดการสัตว์ในฐานะทรัพย์สิน ได้แก่ พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ
               พระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์


                             ค. กฎหมายเพื่อจัดการสัตว์ในฐานะทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ พระราชบัญญัติรักษาช้างป่า
               พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น


                             เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายต่างๆทั้งสามกลุ่มนี้จะเห็นว่า กฎหมายในกลุ่มที่หนึ่งนั้น
               มีเจตนารมณ์เพื่อปกป้องมนุษย์จากอันตรายหรือโรคภัยที่เกิดจากสัตว์เป็นสำคัญ มิใช่เพื่อการคุ้มครองสัตว์ เช่น

               เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งตราขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์
               พ.ศ. 2499 มีหลักการและเหตุผลส่วนหนึ่งว่า “...เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์ และ
               การทำงานของสัตวแพทย์ สารวัตร และพนักงานเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันเป็นการคุ้มครอง
               ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศ...”




               
      3   ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
               
      4   ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558
               
      5   ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68