Page 62 - kpiebook62010
P. 62
55
จากสองมาตรานี้ เราจะเห็นว่า ความผิดที่กระทำต่อสัตว์ที่ถือว่ามีโทษทางอาญานั้น ได้แก่ กระทำ
การทารุณต่อสัตว์ ฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็นหรือใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงาน
อันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชราหรืออ่อนอายุ
นอกจากความผิดที่คนกระทำต่อสัตว์แล้ว ประมวลกฎหมายอาญายังมีความผิดที่เอาโทษแก่
ผู้ควบคุมสัตว์ที่ปล่อยปละละเลยให้สัตว์ของตนกระทำอันตรายต่อผู้อื่น ไล่ต้อนหรือปล่อยปละละเลยให้สัตว์เข้าไป
ทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตรของผู้อื่นด้วย ตามมาตรา 377 มาตรา 394
และมาตรา 395 ดังนี้
“มาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง
ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
“มาตรา 394 ผู้ใดไล่ ต้อน หรือทำให้สัตว์ใดๆ เข้าในสวน ไร่ หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้
เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ”
“มาตรา 395 ผู้ใดควบคุมสัตว์ใดๆ ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเข้าในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้
แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท”
ดังนั้นเมื่อพิจารณาตามบริบทของประมวลกฎหมายอาญาแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ประมวลกฎหมาย
อาญานั้นมุ่งจะป้องปรามความผิดที่เกี่ยวกับ “สัตว์” และ “คน” ทั้งสองทาง คือการที่ “คน” กระทำต่อ “สัตว์”
ได้แก่การกระทำทารุณต่อสัตว์ ซึ่งรวมถึงการใช้ให้สัตว์ทำงานโดยไม่สมควร และความผิดที่ “สัตว์” กระทำต่อ
“คน” เกิดจากการปล่อยปละละเลยสัตว์ให้เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายต่อผู้อื่นด้วยแต่ในกรณีหลังนั้น
เนื่องจากกฎหมายอาญามีผลใช้บังคับต่อคนเท่านั้น ความผิดจึงไปตกแก่ผู้ควบคุมสัตว์นั้นแทน
นอกจากนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ยังมีบทบัญญัติที่แสดงถึงความเป็น “ทรัพย์สินพิเศษ” ของ
สัตว์ที่ใช้ในการเกษตรไว้ในบทบัญญัติที่เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ด้วย โดยถือว่าการลักทรัพย์สัตว์อันมีไว้สำหรับ
ประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมเป็นบทหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ทั่วไป ในมาตรา 335 (12) รวม
ถึงการทำให้เสียทรัพย์ประเภทปศุสัตว์หรือสัตว์พาหนะก็เป็นความผิดที่มีโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 359 (2) และ (3)
ด้วย
4.1.4 บทบัญญัติเกี่ยวกับสัตว์ตามพระราชบัญญัติต่างๆ
จากการศึกษา พบว่า ก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ได้แก่
(1) พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557