Page 61 - kpiebook62010
P. 61
54
“มาตรา 433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับ
รักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่
สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของ
สัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความ
ระมัดระวังถึงเพียงนั้น
อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือ
ยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้”
นอกจากนี้ในเรื่องละเมิดยังเปิดโอกาสให้ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากสัตว์ของ
ผู้อื่นมีสิทธิที่จะจับสัตว์นั้นไว้ และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนได้ หรือถ้ามีเหตุจำเป็นก็อาจฆ่าสัตว์นั้นได้
โดยก่อนจะดำเนินการเช่นนั้นจะต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของ โดยสืบหาตัวเจ้าของให้พบเสียก่อนจึงดำเนินการเช่นนั้น
ได้ ตามมาตรา 452 ดังนี้
“มาตรา 452 ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหาย
ในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจำเป็น
โดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้
แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้
ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ”
กล่าวโดยสรุป ตามประมวลกฎหมายแพ่งของไทยนั้นมีมุมมองว่าสัตว์เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่ง
ที่อาจเป็นเจ้าของด้วยการถือเอาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (ได้แก่จะต้องไม่ไปขัดหรือผิดต่อกฎหมายอื่น เช่น
กฎหมายว่าด้วยสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง) และถือเป็นทรัพย์สินที่อาจก่อความเสียหายต่อบุคคลอื่นได้
โดยเจ้าของสัตว์นั้นจะต้องรับผิดทางละเมิดที่สัตว์ของตนได้ก่อไว้ นอกจากนี้ สัตว์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสัตว์
พาหนะนั้นก็ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์พิเศษที่มีวิธีการจัดการเช่นเดียวกับอสังหาริมทรัพย์ด้วย
4.1.3 บทบัญญัติเกี่ยวกับสัตว์ตามประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มีบทที่อาจถือว่าเป็นการคุ้มครองสัตว์ที่รับมาจากกฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ. 127 ด้วยกันสองมาตรา คือ มาตรา 381 และมาตรา 382 ดังนี้
“มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
“มาตรา 382 ผู้ใดใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์
นั้นป่วยเจ็บ ชราหรืออ่อนอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ”
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557