Page 94 - kpiebook62010
P. 94
87
เมื่อพิจารณาภาพรวมของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
พ.ศ. 2557 ของไทยนั้น แม้ชื่อของกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นจะเป็นไปเพื่อการ “ป้องกันการทารุณ
กรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์” ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรม
สัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์จริงๆ แล้ว จะเห็นว่ามีบทบัญญัติดังกล่าวอยู่เพียงเรื่องละสองถึงสามมาตรา และ
ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากนัก ทั้งเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงบทกำหนด
ความผิดทางอาญาและระวางโทษห้ามการทารุณกรรมสัตว์ แต่รายละเอียดว่าการทารุณกรรมสัตว์คืออะไร ได้แก่
การกระทำอย่างไรบ้างนั้น เป็นเพียงบทนิยามกว้างๆเท่านั้น เมื่อเทียบกับกฎหมายในลักษณะเดียวกันของ
ต่างประเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของตัวบทแล้ว แทบไม่ต่างจากการยกเอาความผิดฐานทารุณกรรมสัตว์
ตามประมวลกฎหมายอาญาที่เดิมเป็นความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 381 มาปรับปรุงถ้อยคำใหม่และกำหนดโทษ
ให้แรงขึ้นเท่านั้น
ส่วนที่ถือว่ายังขาดอยู่มากที่สุดสำหรับกฎหมายเพื่อการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัด
สวัสดิภาพนั้น ก็ได้แก่ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีรายละเอียดอะไรเลยว่า กฎหมาย
ฉบับนี้กำหนดหลักเกณฑ์พื้นฐานในเรื่องของการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้อย่างไร นอกจากตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
พระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงมีลักษณะเป็นเหมือนกฎหมายแม่บทที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร
ขึ้นมาเพื่อเป็น “องค์กรกลาง” ของรัฐในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่
คณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และวางหลักเกณฑ์ในการให้อำนาจหรืออนุญาต
ให้เอกชนสามารถจัดตั้งองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์และสถานสงเคราะห์สัตว์ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการป้องกัน
การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และกำหนดแม่บทของการ “ห้ามการทารุณกรรมสัตว์” และการให้
อำนาจฝ่ายปกครองในการกำหนดเรื่องการ “จัดสวัสดิภาพสัตว์” เท่านั้น ซึ่งในประการหลังนั้น หากไม่มีกฎหมาย
ลำดับรองประกาศกำหนดแล้ว ก็ไม่อาจจะทราบได้เลยว่า การจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามกฎหมายไทยนั้นมีหลักเกณฑ์
มากน้อยหรือมีหลักประกันเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้อย่างไร
เช่นนี้ภาพรวมหรือโครงสร้างของพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงเป็นเหมือนกฎหมายที่มีลักษณะเป็น
บทบัญญัติแม่บทเบื้องต้นที่ยังขาดรายละเอียดอยู่มาก นอกจากการยกเอาความผิดฐานทารุณกรรมสัตว์เดิมที่มีอยู่
ในประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาเพิ่มโทษ และมุ่งเน้นไปในลักษณะของการเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครอง
และการจัดตั้งองค์กรมากกว่าเนื้อหารายละเอียดของการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์หรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์
5.1.2 สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครอง
สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครองนั้น กรณีของอินเดียบัญญัติไว้กว้างขวางที่สุด กล่าวคือ หมายถึงสรรพสัตว์
ทั้งปวงที่มีชีวิต (any living creature) ที่มิใช่มนุษย์ ในขณะที่กฎหมายของสหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
นั้นคุ้มครองเฉพาะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น แต่ก็ยังเปิดช่องให้ภาครัฐผู้บริหารกฎหมายสามารถกำหนด
คุ้มครองสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเพิ่มเติมได้ หากมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังนั้นมีความ
สามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานได้ อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตาม
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557