Page 97 - kpiebook62010
P. 97

90






               เป็นการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ดังกล่าวมีหลายเรื่องที่มีจุดร่วมตรงกันในกฎหมายของแต่ละประเทศที่ทำการ

               ศึกษา สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้


                       รูปแบบของการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์   เยอรมนี  สวิตเซอร์แลนด์  สหราชอาณาจักร  อินเดีย  ประเทศไทย

                (1) นำสัตว์มาทำการต่อสู้กัน                   √        √           √         √
                (2) จงใจปล่อยหรือละทิ้งสัตว์                  √        √            
        
      √**

                (3) ให้สัตว์ทำงานหนักเกินสมควร                √        √            
        √       √

                (4) ใช้ยาหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์    
        √*          √         √

                (5) ตัดหางหรืออวัยวะของสัตว์                  
        √*          √

                (6) บรรทุกหรือขนส่งสัตว์ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม   
      √*           
        √      √**
                (7) กักขังสัตว์ไว้ในกรง หรือล่ามสัตว์ด้วยเชือกหรือโซ่ที่ไม่ได้ขนาด   
  √*   
  √

                (8) นำสัตว์มาเป็นเหยื่อหรือใช้ฝึกซ้อมสัตว์อื่น   √     
            
        √

                (9) ใช้สัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ           
        √*           
        
       √

               * บัญญัติอยู่ในกฎหมายลำดับรอง (รัฐกฤษฎีกา)

               ** เป็นความผิดในหมวดที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์

                             อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์บางประการของ
               ต่างประเทศ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กันนั้น ตามกฎหมายของไทยถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถือเป็นการ

               ทารุณกรรมต่อสัตว์หากการต่อสู้ของสัตว์นั้นเป็นไปตามประเพณีท้องถิ่น (มาตรา 21 (9)) หรือการตัดหางหรือ
               อวัยวะของสัตว์ ตามกฎหมายไทยก็ถือว่าไม่เป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ หากมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตราย

               ต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์ (มาตรา 21 (8))

                             ดังนั้นจึงอาจกล่าวว่า การกระทำใดถือเป็นการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์หรือไม่นั้น ต้องขึ้นกับ

               ประสบการณ์และวัฒนธรรมของแต่ละชาติที่มีต่อสัตว์และการปฏิบัติต่อสัตว์ของแต่ละชาติเป็นสำคัญ

                     5.1.4  การจัดสวัสดิภาพสัตว์

                             จากการศึกษาพบว่า ในกฎหมายของเยอรมัน และอังกฤษนั้น จะมีการกำหนดหลักการทั่วไป

               เกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้ในกฎหมาย และให้อำนาจหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบในการไปออกกฎหรือ
               ระเบียบที่เกี่ยวข้องได้ สำหรับสวิตเซอร์แลนด์นั้นกฎหมายลำดับรองอยู่ในรูปแบบของรัฐกฤษฎีกาที่ตราขึ้น

               โดยคณะรัฐมนตรี ส่วนประเทศอินเดียนั้นให้มีการตั้งคณะกรรมการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่จะมีอำนาจในการให้
               คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ


                             ส่วนของประเทศไทยนั้นไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ไว้มากนักในกฎหมาย
               โดยให้เป็นอำนาจแก่รัฐมนตรีในการไปออกประกาศกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการป้องกันการ








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102