Page 96 - kpiebook62010
P. 96

89






                             จึงอาจกล่าวได้ว่า ขอบเขตในการคุ้มครองสัตว์ตามกฎหมายของไทยนี้ค่อนข้างจำกัดหาก

               เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และอาจจะมีปัญหาต้องตีความในกรณีของการคุ้มครองสัตว์บางชนิด
               ที่ไม่ชัดเจนว่าถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงหรือไม่


                     5.1.3  การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์และข้อยกเว้น

                             ในกฎหมายของแต่ละประเทศ บางประเทศจะกำหนดถึงหลักการเกี่ยวกับการห้ามการกระทำ
               ทารุณกรรมต่อสัตว์ไว้ในความหมายกว้าง และจะกำหนดถึงรูปแบบเฉพาะที่กฎหมายถือว่าเป็นการกระทำ

               ทารุณกรรมต่อสัตว์ไว้ด้วย

                             หลักการสำคัญที่แต่ละประเทศบัญญัติไว้ตรงกัน ก็คือ การทารุณกรรมต่อสัตว์นั้นหมายถึง

               การกระทำที่ทำให้สัตว์นั้นได้รับความเจ็บปวด มีบาดแผล หรือได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็นด้วยวิธีการต่างๆ

                             กฎหมายของสหราชอาณาจักรจะวางหลักเกี่ยวกับการกระทำที่ถือว่าเป็นการทำให้สัตว์ได้รับ

               ความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น ไว้ค่อนข้างละเอียด สรุปได้ว่าหมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็น
               เหตุให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน โดยผู้นั้นก็รู้หรือควรรู้ว่าการกระทำของตนนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลเช่นนั้น

               ต่อสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ และการนั้นเป็นความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็น ซึ่งการนี้รวมถึงการที่
               ผู้รับผิดชอบสัตว์นั้น กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการให้บุคคลอื่นเข้ามากระทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์
               ทรมาน โดยความยินยอมหรือการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันสมควรที่จะป้องกันไม่ให้การนั้นเกิดขึ้น จนสัตว์นั้นได้รับ
               ความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็นด้วย


                             โดย “ความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น” ก็ได้รับการนิยามไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม ว่าได้แก่
               (1) ความทุกข์ทรมานนั้นอาจหลีกเลี่ยงหรือทำให้ลดน้อยลงได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ (2) การกระทำนั้น

               ได้รับอนุญาตหรือมีอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ (3) การกระทำให้สัตว์นั้นทุกข์ทรมาณนั้นมีเหตุผล
               อันชอบธรรมหรือไม่ ได้แก่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสัตว์นั้นเอง หรือเป็นไปเพื่อปกป้องบุคคล ทรัพย์สิน หรือ

               สัตว์อื่น (4) ความทุกข์ทรมานนั้นพอสมควรหรือได้สัดส่วนแก่วัตถุประสงค์ที่ชอบหรือไม่ (5) การกระทำนั้น
               ชอบด้วยเหตุผลอันสมควรหรือมีมนุษยธรรมหรือไม่


                             ส่วนตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ของไทยนั้นให้นิยม
               การ “ทารุณกรรม” ไว้ในมาตรา 3 ว่า หมายถึง “การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับ
               ความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผล
               ทำให้สัตว์นั้นตาย...” ซึ่งไม่ได้ถือหลักว่าความทุกข์ทรมานที่สัตว์ได้รับนั้นเป็นความทุกข์ทรมานอันไม่จำเป็นหรือไม่

               อย่างไรก็ตามในมาตราที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์นั้นบัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ
               อันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” ดังนั้นคำว่า “โดยไม่มีเหตุอันสมควร” นี้ก็อาจจะ

               หมายความถึงการกระทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นเหตุอันไม่สมควรก็ได้

                             อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า กฎหมายของประเทศที่ทำการศึกษา จะกำหนดรูปแบบของ

               การกระทำที่ถือเป็นการต้องห้าม ที่ถือเป็นการกระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ โดยรูปแบบของการกระทำที่ถือว่า








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101