Page 95 - kpiebook62010
P. 95
88
กฎหมายของสหราชอาณาจักรนั้น จะครอบคลุมเฉพาะสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่โดยทั่วไปในหมู่เกาะอังกฤษ (British
Islands) สัตว์ที่อยู่ในความควบคุมของมนุษย์ ไม่ว่าจะโดยถาวรหรือเป็นการชั่วคราว และสัตว์นั้นไม่ใช่สัตว์ป่า
เท่านั้นส่วนในกรณีของกฎหมายเยอรมันนั้นไม่มีการนิยามขอบเขตของสัตว์ที่กฎหมายคุ้มครองเอาไว้อย่างชัดเจน
เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ของไทยนั้น
ก็ไม่ได้มีการกำหนดนิยามหรือของเขตของคำว่า “สัตว์” เอาไว้ในทางวิทยาศาสตร์ แต่จะมุ่งคุ้มครองสัตว์ประเภทที่
โดยปกติเป็น “สัตว์เลี้ยง” ที่มนุษย์เลี้ยงไว้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่นเลี้ยงไว้เป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน
สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง
หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด แต่สัตว์เหล่านั้นไม่จำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงหรือมีเจ้าของ เพียงแต่สัตว์ประเภทนั้น
เป็นสัตว์ที่เป็นประเภทที่มีผู้เลี้ยงไว้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆข้างต้นเท่านั้น
ส่วนสัตว์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ตามปกติ แต่อาจได้รับการคุ้มครองตาม
กฎหมายนี้ ก็จะต้องเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
การที่กฎหมายกำหนดคุ้มครองสัตว์เฉพาะสัตว์ที่โดยปกติเป็นสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้นี้ ทำให้ขอบเขต
ของสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้นั้นจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง นั่นคือ สัตว์บางชนิดแม้เป็นสัตว์มีกระดูกสัน
หลัง แต่เป็นสัตว์ที่ปกติไม่มีการเลี้ยงไว้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย ก็อาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองตาม
กฎหมายนี้ก็ได้ เช่นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก เช่น คางคก เขียดปาด สัตว์เลื้อยคลานเช่น จิ้งจก ตุ๊กแก แต่ในอีกทางหนึ่ง
สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่เป็นสัตว์ที่มีผู้เลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการอื่นใด เช่น จิ้งหรีด หรือหนอนไหม ก็อาจจะได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ได้หากตีความตามลายอักษรของกฎหมาย
นอกจากนี้ การกำหนดสัตว์ที่กฎหมายคุ้มครองโดยอาศัยขอบเขตความเป็นสัตว์เลี้ยงเป็นสาระ
สำคัญในการพิจารณา ก็อาจเกิดปัญหาในการตีความว่า การที่มีผู้เลี้ยงสัตว์ชนิดใดแล้ว ถือว่าสัตว์ชนิดนั้นได้รับ
การคุ้มครองไปหมดทุกสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดนั้นหรือไม่ เช่น กรณีของหนู หรือนก ซึ่งเป็นสัตว์ที่โดยปกติจะมี
ผู้เลี้ยงไว้ แต่ก็ไม่ใช่นกหรือหนูทุกชนิดที่ถือเป็นสัตว์เลี้ยง หนูหรือนกที่โดยปกติไม่มีใครเลี้ยงไว้ เช่น หนูบ้าน หรือ
หนูท่อ (Rattus norvegicus) หรือนกกระจอกบ้าน (Passer montanus) เหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองตาม
กฎหมายนี้ด้วยหรือไม่
ส่วนสัตว์ป่านั้นไม่ได้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ทั้งนี้หากเป็นกรณี
ของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นจะได้รับการคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. 2535 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นกฎหมายที่มีความเข้มงวดมากกว่า แต่ก็เป็นการกำหนดหลักการของการคุ้มครองไม่ให้
ใครครอบครอง เลี้ยง หรือล่าสัตว์เหล่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการห้ามการทารุณกรรมหรือจัดสวัสดิภาพของ
สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองเหล่านั้นโดยตรง เว้นแต่เป็นกรณีของสวนสัตว์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่วนสัตว์ตามธรรมชาติอื่นๆ ก็จะต้องเป็นไปตามประกาศกำหนดของ
รัฐมนตรี
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557