Page 99 - kpiebook62010
P. 99
92
จากอัตราโทษเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จะเห็นว่าอัตราโทษจำคุกของประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับกลาง
ส่วนโทษปรับนั้นถือว่าต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก ทั้งเมื่อพิจารณาจากจำนวนค่าปรับหรือเมื่อเปรียบเทียบกับ
ค่าครองชีพ
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ในหลายประเทศนอกจากโทษทางอาญาแล้ว ยังมีสภาพบังคับทางปกครอง
สำหรับผู้ที่กระทำทารุณกรรมสัตว์หรือไม่จัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เช่นการห้ามบุคคลผู้กระทำ
ความผิดนั้นเลี้ยง ดูแล เป็นเจ้าของ หรือประกอบกิจการเกี่ยวข้องกับสัตว์ ในขณะที่ตามกฎหมายไทยนั้นไม่มี
การกำหนดสภาพบังคับทางปกครองในเรื่องดังกล่าว แต่ทั้งนี้เนื่องจาก ตามกฎหมายไทยเรายังไม่มีการกำหนด
เรื่องเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นเจ้าของสัตว์หรือที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและดูแลสัตว์ด้วย จึงเป็นการยากที่จะ
กำหนดสภาพบังคับทางปกครองที่เกี่ยวกับการห้ามเลี้ยงหรือห้ามเป็นเจ้าของสัตว์
5.2 วิเคราะห์ปัญหาในการใช้บังคับของกฎหมาย
จากการศึกษาปัญหาในการใช้บังคับของกฎหมาย ผ่านกรณีศึกษาต่างๆ ที่เป็นข่าวปรากฎต่อสื่อมวลชน
และจากการที่ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 แล้ว พบว่ามีปัญหา
ในการบังคับใช้กฎหมายรวมห้าประเด็น ได้แก่ ปัญหาเรื่องนิยามและรูปแบบของการทารุณกรรมสัตว์ปัญหาเรื่อง
ผลทางกฎหมายเมื่อมนุษย์ทำการตอบโต้ในกรณีที่ได้รับอันตรายหรืออาจได้รับอันตรายจากสัตว์ปัญหาเกี่ยวกับ
การขาดมาตรการสำหรับผู้ที่ไม่ดูแลสัตว์ และปล่อยปละละเลยให้สัตว์ของตนก่ออันตรายให้แก่ชีวิต ร่างกาย หรือ
ทรัพย์สินของผู้อื่นปัญหาการระบุตัวเจ้าของสัตว์ และการอุปการะดูแลสัตว์จร และสุดท้าย คือที่ปัญหาเกี่ยวกับ
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนี้
5.2.1 ปัญหาเรื่องนิยามและรูปแบบของการทารุณกรรมสัตว์
มาตราที่ถือเป็นหลักในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ อยู่ในมาตรา 20 ซึ่งบัญญัติว่า “ห้ามมิให้
ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
โดยการกระทำให้ที่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ จะต้องพิจารณาจากบทนิยามในมาตรา 3 ที่ว่า
“การทารุณกรรม” หมายความว่า “การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย
และให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชราหรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้องเพื่อแสวงหา
ประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์
นั้นเจ็บป่วย ชราหรืออ่อนอายุ”
จะเห็นว่าบทบัญญัติของมาตรา 20 ประกอบมาตรา 4 นั้นประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนแรกนั้น
วางหลักไว้กว้างๆว่า การทารุณกรรมสัตว์นั้น หมายถึงการกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความ
ทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้น
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557