Page 53 - kpiebook62015
P. 53
Body of Knowledge หรือ องค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก
โครงสร้าง และช่องทางที่จะเข้าถึงความรู้ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในกระบวนการต่อไปนี้
1) รวบรวม ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งและมีส่วนร่วม
2) ทดลองปฏิบัติ วิเคราะห์และสรุปสาระ
3) เกิดแนวคิด เนื้อหาและแนวทางพัฒนา เรียกว่า ความรู้
4) การสังเคราะห์ แนวคิด เนื้อหา บูรณาการมาเป็นความรู้ในระดับสูงขึ้น
Knowledge หรือ ความรู้ หมายถึง สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ ที่บุคคลรวบรวมได้
จากประสบการณ์ในวิถีชีวิต ความรู้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทาง
ธรรมชาติ สังคม และเทคโนโลยี บุคคลเรียนรู้จากประสบการณ์ การศึกษา อบรม การรับ
ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การรับรู้ การคิดและการฝึกปฏิบัติ จนสามารถสรุปสาระความรู้และ
น าไปใช้ประโยชน์ได้หรือพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
ความรู้ที่มีอยู่ในศาสตร์ต่าง ๆ จะหมายถึง ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ ที่อยู่ใน
ต ารา เป็นความรู้ที่ได้รับการสั่งสมมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ หรืออยู่ภายนอกตัวบุคคล
ส าหรับความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลนั้น ๆ ผู้เรียนสามารถสร้าง
ความรู้ให้เกิดขึ้นใหม่ซึ่งเมื่อพัฒนาโครงสร้างความรู้ต่อ ๆ ไป จะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ให้
ผู้อื่นเรียนรู้และค้นคว้าได้
องค์ความรู้ ในที่นี้ ความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอด
จากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นผู้รับ
สามารถน าไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถน ามาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่
กระท าอยู่
องค์ความรู้ก าหนดขอบเขตและระบุเฉพาะเจาะจงได้ เป็นสิ่งที่สร้าง ผลิต และพัฒนาได้
และสามารถเผยแพร่ ถ่ายทอด และน ามาใช้ประโยชน์ได้
ส าหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ในการศึกษานี้ ผู้ศึกษามุ่งรวบรวมองค์
ความรู้ ที่เป็น สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ จากประสบการณ์และการปฏิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้อง
8
ในงานเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่ศึกษา และจ าแนกเป็น ความรู้ที่เป็นหลักการและแนวคิด
8
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย “หลักการ (principle)”
หมายถึง สาระส าคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ และ “แนวคิด ( concept )” หมายถึง ความคิด
ที่มีแนวทางปฏิบัติ
42