Page 54 - kpiebook62015
P. 54
กับ ความรู้ที่เป็นการเทคนิคปฏิบัติ บูรณาการและสรุปสาระองค์ความรู้ที่จะน าไปใช้ประโยชน์
หรือพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นหรือน าไปใช้ในพื้นที่อื่นต่อไป
ในขั้นตอนที่ 2 นี้ ผู้ศึกษาน าผลการสังเคราะห์จากค า/หลักการส าคัญจากงานวิชาการ
และข้อมูลภาคสนาม มารวบรวมเป็นชุดองค์ความรู้ได้ ดังนี้
องค์ความรู้ด้านที่ 1
ศักยภาพของสมาชิก
องค์ความรู้ศักยภาพของสมาชิกชุมชน ประกอบด้วย การมีความรู้ การใช้ปัญญา การใช้
ความคิดวิเคราะห์วิพากษ์ และการพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความคิด ความต้องการเห็นการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตนเองและลงมือท าด้วยตนเองของสมาชิกชุมชน
องค์ความรู้ชุดนี้ประกอบด้วยทั้งแนวคิด หลักการ เทคนิคปฏิบัติ และเป็นองค์ความรู้เพื่อ
สร้างทัศนคติ
ความคิดหรือความรู้ของสมาชิกชุมชน ในโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองที่
ส าคัญคือการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และความสามารถในการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นด้วยปัญญาและความคิดอย่างมีวิจารณญาน ศักยภาพของสมาชิกชุมชนจะท าให้เห็น
คุณค่าและความสามารถของตนและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง การมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่
สัมพันธ์กับการด ารงชีวิต รวมทั้งความรู้จากภูมิปัญญาดั่งเดิมของท้องถิ่น จะน าไปสู่การปฏิบัติ
หรือการลงมือกระท า (action) เกิดการพึ่งพาตนเอง เกิดพลังของพลเมือง และสร้างการ
เปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนและสังคมได้ ดังตัวอย่างที่พบในพื้นที่ ต. สว่าง อ.โพนทอง ของบรรดากลุ่ม
แกนน า ที่มีความรู้และน าความรู้ไปสู่การปฏิบัติและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา
องค์ความรู้ชุดที่ 2
ผู้น า (community leader) และการบริหารจัดการชุมชน (community
management)
องค์ความรู้ด้านผู้น าในโครงการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้นให้ความส าคัญกับการเป็นผู้น า
ที่มีความเป็นประชาธิปไตยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ส าคัญการส่งเสริมความเป็นพลเมือง
ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับชุมชน ภาวะผู้น าชุมชน (community leadership) ในที่นี้ ต้อง
สามารถบริหารจัดการชุมชน (community management) ได้อย่างเหมาะสมร่วมกับสมาชิก
ของชุมชน สามารถจัดการ วางแผน จัดกระบวนการ ด าเนินงาน และประเมินผลการท างานของ
43