Page 56 - kpiebook62015
P. 56

และการสนับสนุนทรัพยากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้หลักประชาธิปไตยและการบริหารจัดการ
                        ที่ดีในกระบวนการมีส่วนร่วมเสมอ

                                องค์ความรู้การมีส่วนร่วม เป็นการปฏิบัติ เป็นเทคนิคและการประยุกต์ใช้ที่ต้องน า
                        แนวคิดมาใช้อย่างมีทักษะ การเข้ามีส่วนร่วมต้องเปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วม

                        ในทุกระดับ การเป็นเครือข่ายที่มีส่วนร่วมต้องมีลักษณะของการเป็นภาคีร่วมกันทุกภาคส่วนเช่น

                        ที่พบในภาคสนามโดยเฉพาะภาคีเครือข่ายภาครัฐ ซึ่งการเข้ามีส่วนร่วมของภาครัฐจะน า
                        ความส าเร็จของการสร้างพลเมืองที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้ และหากการขับเคลื่อนสู่

                        นโยบายสาธารณะสามารถเกิดขึ้นได้จะสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกชุมชนในฐานะพลเมืองที่เข้า
                        มามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างพลังอ านาจให้ตนเอง และเสริมสร้าง “พลังพลเมือง” ในการ

                        แก้ไขปัญหาของชุมชนและในการมีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายเพื่อการแก้ไข ป้องกัน และ

                        พัฒนาชุมชนของตนและบรรลุเป้าหมายของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัด
                        ร้อยเอ็ดได้

                                ในสถานะขององค์ความรู้เชิงเทคนิคและประยุกต์ใช้  การมีส่วนร่วมในโครงการ

                        ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดนั้นต้องประกอบด้วย
                                1) การมีเป้าหมายร่วมกัน

                                เป้าหมายร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม เป็นหลักส าคัญของการมีส่วนร่วม ท าให้
                        สมาชิกมีทิศทางร่วมกัน น าพลังในการท างานมารวมกัน ไม่ต่างคนต่างท าและเห็นสิ่งที่มุ่งไปให้

                        บรรลุเหมือนกัน เป้าหมายร่วมกันยังเป็นหลักการส าคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง

                                กระบวนการส าคัญของการก าหนดเป้าหมายร่วมกัน คือ การติดตามเป้าหมาย หรือ การ
                        ติดตามการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหา การติดตาม

                        เป้าหมายมีความส าคัญต่อการปรับแผนกระบวนการท างาน รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหา
                        อุปสรรคที่อาจท าให้ไม่บรรลุเป้าหมายนั้น กระบวนการติดตามเป้าหมายเป็นกระบวนการเรียนรู้

                        ส าคัญของชุมชนที่เป็นเทคนิคและการประยุกต์ใช้ รวมทั้งควรก าหนดแผนและระยะเวลาในการ

                        ติดตาม
                                ส าหรับองค์ความรู้จากพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด การมีเป้าหมายร่วมกัน คือการขับเคลื่อน

                        งานในทุกระดับที่อาจมีเป้าหมายย่อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม

                        แต่ละพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่นั้นๆ แต่เป้าหมายสูงสุดของการท างานเพื่อขับเคลื่อน
                        พลังพลเมืองคือการเสริมสร้างพลังของพลเมืองในพื้นที่เหมือนกัน










                                                               45
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61