Page 98 - kpiebook62016
P. 98
81
เกิดเป็นเครือข่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศและมีขีดความสามารถในการระดม
233
เสียงสนับสนุนที่เหนือกว่าพรรคคู่แข่ง ขณะที่พรรคการเมืองอื่นถูกห้ามโดยกฎหมายไม่ให้ตั้งสาขา
พรรคในหมู่บ้าน
การเข้ามามีบทบาททั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยาวนาน ได้ส่งผลให้
กองทัพเป็นเครือข่ายผลประโยชน์และระบบอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ เปลี่ยนให้กองทัพกลายเป็นแหล่งการ
234
ทุจริตคอรัปชั่น ก่อให้เกิดกระแสความเกลียดชังกองทัพในหมู่ประชาชน ซึ่งเห็นว่าพฤติกรรมของ
กองทัพสะท้อนให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของรัฐบาลภายใต้การน าของประธานาธิบดีซูฮาร์โต
นอกจากนี้ การที่นายทหารในกองทัพต่างมุ่งความสนใจไปที่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวทั้งจาก
การทุจริตคอรัปชั่นและจากเครือข่ายธุรกิจส่งผลให้หน้าที่ด้านการทหารและความมั่นคงถูกละเลย
235
ลดทอนประสิทธิภาพทางทหารของกองทัพลงในเวลาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงปลายของรัฐบาล
ก็ได้เกิดรอยร้าวระหว่างประธานาธิบดีซูฮาร์โตและกองทัพ จนเมื่อเกิดการประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี
ซูฮาร์โตครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1998 กองทัพที่อ่อนแอลงทั้งในทางการเมืองและการทหารก็มิได้เข้าแทรกแซง
สถานการณ์ น าไปสู่การประกาศลาออกจากต าแหน่งของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในที่สุด
หลังจากการก้าวลงจากต าแหน่งของประธานาธิบดีซูฮาร์โต กองทัพอินโดนีเซียได้เข้าสู่
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนเอง โดยการประท้วงครั้งใหญ่ของประชาชนได้แสดงให้
เห็นว่าความเชื่อว่ากองทัพเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนนั้นไม่เป็นความจริงอีกต่อไป ท าให้กองทัพมีความ
ระมัดระวังมากขึ้น ด้วยเกรงว่าจะเกิดกระแสต่อต้านรอบใหม่ ขณะเดียวกัน ก็ได้เกิดความรู้สึกในหมู่
นายทหารรุ่นใหม่ว่ากองทัพขาดเป้าหมายที่แน่ชัด จากการเข้ามีบทบาทอย่างกว้างขวางทั้งทางด้าน
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยภายใต้การน าของพลเอกวิรันโตและกลุ่มทหารที่สนับสนุนการ
ปฏิรูป ได้มีการก าหนดกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ว่าด้วยการเปลี่ยนบทบาทของกองทัพจาก
การควบคุมรัฐบาลมาเป็นการท างานร่วมกับรัฐบาลแทน โดยกองทัพได้ยุบเลิกแผนกกิจการสังคมและ
การเมือง (Social and Political Affairs branch) ซึ่งรับผิดชอบการควบคุมกิจการทางสังคมและ
233 Paul J. Carnegie, op. cit., pp. 59 – 60.
234 Harold Crouch, ‚Establishing Civilian Supremacy in Southeast Asia,‛ in Uwe Johansen and James Gomez (eds.),
Democratic Transitions in Asia (Singapore: Select Publishing Pte Ltd., 2000), p. 176.
235
J. Kristiadi, ‚The Armed Forces,‛ in Richard W. Baker, M. Hadi Soesastro, J. Kristiadi and Douglas E. Ramage (eds.),
Indonesia: The Challenge of Change (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1999), pp. 106 – 107.