Page 97 - kpiebook62016
P. 97

80







                       ก่อนที่จะมีการส่งรายชื่อให้แก่ประธานาธิบดี ขณะที่ศาลพิพากษาคดีทุจริต (Anti-Corruption  Court)
                       ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อพิพากษาคดีทุจริตโดยเฉพาะ ได้ก าหนดให้ศาลฎีกาคัดกรองผู้สมัครก่อนที่จะมีการส่ง

                                             229
                       รายชื่อไปยังประธานาธิบดี

                       บทบาทของกองทัพ


                              การวางบทบาทของกองทัพอินโดนีเซียมีลักษณะส าคัญที่แตกต่างจากบทบาทของกองทัพใน
                       ประเทศอื่น กล่าวคือ กองทัพอินโดนีเซียมิได้ถูกคาดหวังให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงของประเทศ

                       เท่านั้น หากแต่กองทัพยังถูกคาดหวังให้เป็นผู้รักษาความมั่นคงของรัฐบาลด้วย ในสมัย

                       ประธานาธิบดีซูฮาร์โต แนวคิดดังกล่าวนี้มีชื่อว่า “หลักทวิภาระ” (Dwifungsi  –  Dual  Function)

                       กล่าวคือ กองทัพจะต้องมีความรับผิดชอบทั้งในด้านการทหารและความมั่นคง ในด้านสังคมและ
                                                                           230
                       การเมือง รวมถึงบทบาทในรัฐบาลและในกิจการทางสังคม  นอกจากนี้ กองทัพอินโดนีเซียยังมี
                       บทบาทในทางเศรษฐกิจ จากธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่อนุญาตให้หน่วยทหารสามารถหาทุน

                       สนับสนุนตนเองได้เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนงบประมาณจนเกิดเป็นเครือข่ายผลประโยชน์

                       ภายใต้การน าของประธานาธิบดีซูฮาร์โต กองทัพเข้ายึดอ านาจการปกครองโดยสมบูรณ์ จากการแผ่

                       อิทธิพลอย่างทั่วถึงผ่านกลไกกองทัพภาค (regional military command) ท าให้กองทัพมีอ านาจเหนือ
                       ข้าราชการพลเรือนในพื้นที่ และน าไปสู่การแต่งตั้งนายทหารนอกราชการเข้ารับต าแหน่งในองค์กร

                                        231
                       ปกครองส่วนท้องถิ่น  ขณะที่ในระบบราชการ กองทัพได้กระชับการควบคุมด้วยการแต่งตั้งโยกย้าย
                       นายทหารรับต าแหน่งแทนข้าราชการพลเรือน ในทศวรรษที่ 1980 มีการประมาณว่าต าแหน่งราชการ
                                                                                232
                       ระดับสูงกว่าครึ่งหนึ่งตกเป็นของนายทหารทั้งในและนอกราชการ  ใน ค.ศ. 1982 มีการระบุหลัก
                       ทวิภาระในรัฐบัญญัติว่าด้วยกลาโหมและความมั่นคง และเมื่อพรรคการเมืองที่ยังคงหลงเหลืออยู่

                       เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง กองทัพและรัฐบาลก็ตอบโต้ด้วยการตั้งพรรคโกลการ์ขึ้น โดยพรรคดังกล่าวมี

                       ฐานมาจากกลุ่มอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ สมาชิกของ

                       พรรคโกลการ์ประกอบด้วยทหาร ข้าราชการ และกลุ่มธุรกิจที่มีผลประโยชน์เชื่อมโยงกับรัฐบาล
                       นอกจากนี้พรรคโกลการ์ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณและการประชาสัมพันธ์จากรัฐบาล ส่งผลให้



                       229  Ibid., pp. 215-216.
                       230  Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., p.128.
                       231
                         Harold Crouch, ‚Indonesia,‛ op. cit., p. 61.
                       232  Michael R.J. Vatikiotis, op. cit., pp. 70 – 71.
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102