Page 120 - kpiebook62016
P. 120
103
แม้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงและการปรองดอง (Commission of Truth and
Reconciliation) เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการบังคับให้บุคคลสูญ
หาย (Forced disappearance) ซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้สังหารบุคคลไปมากกว่า 2,000 คน แต่
เป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้ มีขึ้นเพื่อค้นหาความจริงมากกว่าเพื่อด าเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ และ
เมื่อมีการเดินขบวนของทหารเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการด าเนินคดีกับกองทัพที่มีประมาณ 800
คดี ประธานาธิบดีอัลวิน ก็ได้เสนอกฎหมายให้มีการเร่งรัดปิดคดีรวมถึงให้มีการยกฟ้องคดีที่ยังมิได้
288
ด าเนินการ
ประเด็นหนึ่งที่ท าให้สถานะของกองทัพชิลีมีความแตกต่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ
รัฐบาลทหารในประเทศอื่นๆ ซึ่งบุคลากรของกองทัพเข้ารับต าแหน่งในระบบราชการทับซ้อนกับ
ต าแหน่งในกองทัพ อันก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตและความด้อยประสิทธิภาพของทั้งกองทัพและระบบ
289
ราชการเช่นในประเทศอินโดนีเซีย คือแม้กองทัพชิลีจะน าตัวเองเข้าพัวพันกับความเป็นไปทางการเมือง
อย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ซึ่งรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และการเรียกร้องให้
ผู้บังคับบัญชาเข้าแทรกแซงทางการเมืองจนน าไปสู่การรัฐประหารรัฐบาลของประธานาธิบดีอัลเยเด
ใน ค.ศ.1973 พลเอกพิโนเชในฐานะหัวหน้าคณะทหาร ได้สร้างระเบียบวินัยและสายการบังคับบัญชา
ของกองทัพ ด้วยการเกษียณอายุผู้น าทหารที่มีส่วนในการวางแผนรัฐประหาร และเลื่อนต าแหน่งให้กับ
290
นายทหารระดับนายพันที่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองน้อยกว่า และหลังจากคณะทหารเข้ายึด
อ านาจการปกครอง และมีการแต่งตั้งนายทหารจ านวนมากเข้าสู่ระบบราชการ รวมถึงในกรรมการ
บริหารธุรกิจภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้จัดระบบการโอนย้ายอย่างเด็ดขาด ไม่ให้นายทหารด ารง
ต าแหน่งอื่นควบคู่กับต าแหน่งในกองทัพ และให้นายทหารที่โอนย้ายสู่ต าแหน่งพลเรือนขึ้นตรงต่อ
ผู้บังคับบัญชาในต าแหน่งดังกล่าวเท่านั้น รวมถึงการห้ามหารือเรื่องนโยบายระหว่างผู้ที่มีต าแหน่งใน
ส่วนราชการพลเรือนกับผู้ที่มีต าแหน่งในกองทัพ พร้อมกันนี้ยังหมุนเวียนบุคคลเข้ารับต าแหน่งต่างๆ
อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการสร้างฐานอ านาจในหน่วยงาน และผู้ที่ไม่ได้รับความไว้วางใจจะได้รับการ
288 Peter H. Smith, op. cit., p. 96.
289 J. Kristiadi, op. cit., pp. 106 – 107.
290 Arturo Valenzuela, “Chile: Origins, Consolidation and Breakdown of Democratic Regime,” in Larry Diamond, Juan J.
Linz, and Seymour Martin Lipset (eds.), Politics in Developing Countries: Comparing Experiences with Democracy
(Boulder, Colorado: L. Rienner Publishers, 1990), p. 72.