Page 124 - kpiebook62016
P. 124
107
และมีแนวทางสายกลางที่เน้นการก าหนดนโยบายอย่างกว้างๆ เพื่อขยายฐานเสียงในหมู่ผู้ที่มี
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม และพรรค Independent Democratic Union ซึ่งประกอบขึ้นจากกลุ่ม
ปัญญาชนที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่ของสหรัฐอเมริกา ผ่านโครงการ
แลกเปลี่ยนทางวิชาการของมหาวิทยาลัยคาธอลิกแห่งชิลี (Catholic University of Chile) ท าให้
สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารภายใต้การน าของประธานาธิบดีพิโนเช
เมื่อรัฐบาลทหารน้อมรับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ พรรค Independent Democratic Union
จึงมีจุดยืนในการรักษาไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ปกป้องโครงการของประธานาธิบดีพิโนเช
ต่อต้านความพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองที่ถูกวางไว้โดยรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1980 และ
300
ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ผู้ที่ให้การสนับสนุนพรรค Independent Democratic Union รวมถึงผู้เคร่ง
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก และกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลทหาร
การที่พรรคฝ่ายขวาทั้งสองพรรคมีที่มาและแนวทางที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พันธมิตรของพรรค
การเมืองฝ่ายขวาขาดเอกภาพ โดยพรรค National Renovation ยอมรับที่จะกล่าวถึงปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยรัฐบาลทหารและยอมรับความพยายามในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ แม้จะท า
ด้วยความระแวดระวังด้วยเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อฐานเสียงอนุรักษ์นิยมของพรรค ส่วนพรรค
Independent Democratic Union กลับปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในประเด็นดังกล่าว ซึ่งน าไปสู่การ
ขัดขวางการปฏิรูปโดยวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งมีความเชื่อมโยงกับพรรค จนถึงสมัย
ประธานาธิบดีลากอส พรรค Independent Democratic Union จึงสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมูญ
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันในวิสัยทัศน์ของนโยบายท าให้กลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายขวายังคงขาด
301
ความเป็นเอกภาพ และแม้พรรคฝ่ายขวาประสบปัญหาด้านเอกภาพ แต่พรรค National
Renovation ก็ประสบความส าเร็จในการเสนอชื่อนายเซบาสตินา พิเนรา (Sebastián Piñera) ลง
สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2009 และได้รับชัยชนะเป็นประธานธิบดี
คนแรกของพรรคฝ่ายขวานับตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
300 Peter M. Siavelis, “Chile: The Right’s Evolution from Democracy to Authoritarianism and Back Again,” in Juan Pablo
Luna and Cristobal Rovira Kaltwasser (eds.), The Resilience of the Latin American Right (Baltimore: John Hopkins
University Press, 2014), pp. 248-249.
301 Ibid., pp. 250-251.