Page 122 - kpiebook62016
P. 122
105
ศาลรัฐธรรมนูญจ านวน 2 คนจากองค์คณะทั้งหมด 7 คน อ านาจในการให้ผู้น าเหล่าทัพและ
294
ผู้บัญชาการต ารวจพ้นจากต าแหน่งตามการเสนอของประธานาธิบดี
การจัดสรรอ านาจทางการเมืองให้แก่กองทัพตามรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ใน ค.ศ. 2006 ด้วยการยกเลิกอ านาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา และอ านาจในการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินที่คุกคามต่อความมั่นคง ซึ่งตามบทบัญญัติเดิมนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติ
295
สามารถประชุมและประกาศได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี
บทบาทของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
1. กลุ่มฝ่ายซ้าย
แนวคิดฝ่ายซ้าย หรือแนวคิดสังคมนิยมเป็นชุดอุดมการณ์ทางการเมืองที่ได้รับการสนับสนุน
อย่างเข้มแข็งในชิลี โดยเฉพาะในรูปแบบพรรคการเมือง ซึ่งพบว่ามีพรรคการเมืองที่ยึดแนวคิดสังคมนิยม
296
จ านวนมาก โดยก่อนหน้าการรัฐประหารในเดือนกันยายน ค.ศ. 1973 เป็นช่วงเวลาที่พรรคแนว
สังคมนิยมเป็นผู้กุมอ านาจรัฐบาล โดยประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด ภายใต้การสนับสนุนของ
กลุ่มแนวร่วมประชาชน (Popular Unity) ได้ด าเนินนโยบายสังคมนิยมอย่างสุดโต่งด้วยความพยายาม
ปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ทั้งหมด รวมถึงปฏิเสธที่จะประนีประนอมกับกลุ่มอนุรักษ์
นิยมและกลุ่มทุน อันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดและปัญหาทางเศรษฐกิจที่น าไปสู่
การรัฐประหารในที่สุด และน าชิลีเข้าสู่ยุคของการปราบปรามคอมมิวนิสต์และแนวคิดสังคมนิยม
297
และการยุบเลิกพรรคการเมือง
หลังการท ากิจกรรมทางการเมืองได้รับอนุญาตอีกครั้งในช่วงการท าประชามติ ค.ศ. 1988
บรรดาพรรคการเมืองที่ถูกยุบ และกลุ่มการเมืองที่ยุติบทบาททางการเมืองได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง
พรรคสังคมนิยมบางกลุ่มเริ่มเห็นถึงประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่
294 Constitution of the Republic of Chile, Article 40, 45, 81, 93.
295 The New York Times, "15 Years After Pinochet, Chile Begins to Dismantle His Rule," December 12, 2004, Available from
http://www.latinamericanstudies.org/chile/dismantle.htm
296 Alan Angell, “The Durability of the Party System in Chile,” in Paul Webb and Stephen White (eds.), Party Politics in New
Democracies (New York: Oxford University Press, 2009), p. 278.
297 Arturo Valenzuela, op. cit., pp. 64 – 65.