Page 25 - kpiebook62016
P. 25
8
วิธีการเปรียบเทียบที่ใช้ในการศึกษานี้ เป็นการเปรียบเทียบประเด็นเฉพาะเจาะจง (Focused
comparison) โดยใช้วิธี “ความแตกต่างมากที่สุดเพื่ออธิบายผลลัพธ์ร่วมกัน” (Most-different
method หรือ “Method of agreement”) ซึ่งเป็นวิธีการเปรียบเทียบที่ได้รับอิทธิพลจากงานของ John
26
Stuart Mill และนิยมใช้ในการเปรียบเทียบปรากฏการณ์หลายปรากฏการณ์ ซึ่งมีตัวแปรต่างๆ
มากมาย เพื่อมุ่งหาความแตกต่างของตัวแปรชุดหนึ่งที่น ามาสู่ผลลัพธ์ร่วมหรือคล้ายคลึงกันของ
ปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เราศึกษา เราจะสามารถสรุปได้ว่านั่นคือ ชุดของสาเหตุที่ก่อให้เกิด
ปรากฏการณ์ที่เราต้องการค้นหาค าตอบ กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นวิธีการเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคุณสมบัติ
27
ร่วมกัน (Common features) ของปรากฏการณ์ที่ศึกษา ผลลัพธ์ที่เหมือนหรือคล้ายกันในการศึกษานี้
คือ ทั้ง 8 ประเทศผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนระบอบการปกครองจากอ านาจนิยม (อ านาจนิยมทหาร
ระบอบพรรคการเมืองเดียว และอ านาจนิยมคอมมิวนิสต์) ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ส าหรับปัจจัยที่
เป็นตัวแปรต้น หรือสาเหตุของการเปลี่ยนผ่านที่น าไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ย้อนกลับสู่เผด็จการ
ผู้เขียนมีสมมติฐานว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาประชาธิปไตยที่มั่นคง ได้แก่ 5
ตัวแปร ดังนี้ 1.พร้อมที่จะประนีประนอม (Willingness to compromise) 2. บทบาทของผู้น าทาง
การเมือง (Roles of political leaders) 3. การเห็นพ้องยอมรับในรัฐธรรมนูญและกติกาทางการเมือง
(Consensus on the constitution body and rules) 4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน และกองทัพ
28
ไม่แทรกแซงการเมือง (Civilian supremacy/ No Military Interventions) 5. จัดให้มีการเลือกตั้ง
โดยเร็ว (Quick elections) และการศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพิสูจน์ว่าในบรรดา 5 ตัวแปรข้างต้น ตัวแปร
ใดบ้างที่มีความส าคัญ กล่าวคือ เป็นปัจจัยส าคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยใน
หลายประเทศที่ศึกษา
จากการส ารวจวรรณกรรมและงานวิจัยเบื้องต้น (แสดงในบทที่ 2) พบว่า ประสบการณ์ในแต่ละ
ประเทศแตกต่างกันไป ไม่อาจมีตัวแบบ (Model) เดียวที่ใช้ส าเร็จในประเทศหนึ่งและน าไปใช้ในอีก
ประเทศได้อย่างสมบูรณ์ อัตโนมัติ แต่กระนั้นงานวิจัยและวรรณกรรมได้ชี้ว่า ชุดของปรากฏการณ์หรือ
26 John Stuart Mill, A System of Logic (London: Longman, 1843).
27 Adam Przeworski and Henry Teune, The Logic of Comparative Social Inquiry (New York: Wiley, 1970).
28 วรรณกรรมที่ศึกษาบทบาทของกองทัพในเชิงเปรียบเทียบอย่างรอบด้าน ดูใน Zoltan Barany, The Soldier and the Changing
State: Building Democratic Armies in Africa, Asia, Europe, and the Americas (Princeton: Princeton University Press,
2012).