Page 248 - kpiebook62016
P. 248

231







                       13 เดือน ชิลี 14 เดือน มี 2 ประเทศที่ใช้เวลานาน นั่นคือ โปแลนด์ 21 เดือน ยูเครน 31 เดือน ประเทศ
                       ที่จัดให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด นับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้สาธารณรัฐที่ 4 คือไนจีเรีย ที่ใช้

                       เวลาเพียง 24  วัน แต่กลับมีระดับการพัฒนาประชาธิปไตยต ่ามาก และทุกวันนี้ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่ม

                       ประเทศอ านาจนิยม ประเทศที่จัดการเลือกตั้งล่าช้าอาจเป็นผลมาจากต้องใช้เวลายาวนานในการ

                       เจรจาหลายฝ่าย จนบรรลุข้อตกลงที่เป็นฉันทามติ จะสามารถช่วยให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่
                       ประชาธิปไตยที่มั่นคงได้ เช่น โปแลนด์ หากใช้เวลานาน แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ มีการเปลี่ยนแปลง

                       กติกาไปมา อย่างกรณียูเครน อาจส่งผลต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ราบรื่นในภายหลัง ตัวอย่าง

                       ประเทศที่พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ที่ใช้เวลาค่อนข้างนานจากจุดเริ่มต้นถึงการเลือกตั้ง

                       คือ สเปน และฮังการี


                              สมควรกล่าวเน้นว่า การจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วเป็นเพียงเงื่อนไขประการหนึ่งของการ
                       เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย หลายประเทศจัดให้มีการเลือกตั้งและการท าประชามติหลายครั้ง เช่น

                       อียิปต์ แต่ไม่ประสบความส าเร็จในการน าพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งอยู่ภายใต้

                       การครอบง าของผู้น าอ านาจนิยม การเลือกตั้งจึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือในการอ้างความชอบธรรม

                       ของผู้น าที่ต้องการขึ้นสู่อ านาจ หรือเพื่อสืบทอดอ านาจ หากเป็นการจัดการเลือกตั้งโดยระบอบเดิม

                       ฉะนั้น การจัดการเลือกตั้งจึงเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง ที่ต้องด าเนินควบคู่ไปกับปัจจัยอื่นๆ ที่กล่าว
                       มาแล้วข้างต้น


                              ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบ

                       ประชาธิปไตย คือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional  representation  system)  รองลงมาคือ

                       ระบบเลือกตั้งแบบผสมระหว่างระบบสัดส่วนและระบบเขตเลือกตั้ง เนื่องจากระบบเลือกตั้งแบบ
                       สัดส่วนเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ มีโอกาสได้ที่นั่งในสภาตามสัดส่วน

                       คะแนนนิยมที่พรรคได้รับ อีกนัยหนึ่งระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน  (โดยไม่มีเกณฑ์ขั้นต ่า หรือ

                       Threshold) เอื้อต่อการเปิดให้พลังทางการเมืองหลากหลายกลุ่มมีโอกาสเป็นตัวแทนประชาชน ซึ่งต่าง

                       จากระบบเลือกตั้งแบบ 1 เขต 1 คน ที่ท าให้การแข่งขันเน้นไปที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่กี่พรรคที่

                       สามารถชนะที่นั่งในสภาได้ ในบรรดา 8 ประเทศที่ศึกษา มีเพียงประเทศเดียวที่ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ
                       เขต คือ ประเทศไนจีเรีย
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253