Page 247 - kpiebook62016
P. 247
230
5. จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้งและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นเส้นตรง
เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลือกตั้งไม่ได้น าไปสู่ประชาธิปไตยเสมอไป การเลือกตั้งหลายครั้งในหลาย
ประเทศไม่ใช่ทางออกทั้งหมดของวิกฤติการเมือง และในระบอบอ านาจนิยมก็มีการเลือกตั้ง โดยใช้การ
เลือกตั้งเป็นเครื่องมือกอดกุมอ านาจแทนการเปลี่ยนผ่านอ านาจ
ถึงแม้การเลือกตั้งจะมีข้อจ ากัดตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขขั้นต ่า
(Minimal requirement) ที่จ าเป็นต้องมี (Necessary condition) ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตย การเลือกตั้งได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลว่าเป็นกลไกส าคัญที่รับรองการแสดงออก
ซึ่งสิทธิของพลเมืองและเป็นช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อเสียงของประชาชนมี
ความหมายสะท้อนพลังอ านาจทางการเมืองผ่านสถาบันการเลือกตั้ง พรรคการเมือง รัฐสภา และอื่นๆ
การชุมนุมเรียกร้องต่อสู้บนท้องถนนซึ่งจะน าไปสู่ความวุ่นวายและการใช้ก าลังรุนแรงก็ไม่จ าเป็นอีกต่อไป
รายงานประชาธิปไตยนานาชาติ (Democracy Reporting International) ซึ่งศึกษาการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของ 9 ประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกชี้ว่า จุดแข็งร่วมกันของ
การเปลี่ยนผ่านเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ประเทศมีร่วมกันคือ ภายหลังการเปลี่ยนผ่าน ต้องจัดให้มีการ
เลือกตั้งโดยเร็ว ส่วนใหญ่แล้วจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน หรือมากที่สุดไม่เกิน 13 เดือน
483
เหตุผลที่ควรจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เนื่องจากภายหลังการล่มสลายของระบอบเก่า จะเกิดปัญหา
ช่องว่างของความชอบธรรมที่จ าเป็นต้องรีบอุดช่องโหว่นั้นด้วยการคืนอ านาจให้ประชาชน เพื่อให้มี
สถาบันที่เป็นตัวแทนประชาชนเข้าบริหารประเทศโดยไว ยิ่งหากการเปลี่ยนผ่านเกิดภายหลังการปฎิวัติ
การจัดให้มีการเลือกตั้งในขณะที่ประชาชนยังเกาะติดกับสถานการณ์ทางการเมือง มีความตื่นตัวกับ
ประเด็นทางนโยบาย และไฟของความต้องการการเปลี่ยนแปลงยังคุกรุ่นอยู่ จะยิ่งท าให้ประชาชนสงบ
ลงได้ผ่านการเลือกตั้ง
ในการศึกษานี้ พบว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ศึกษา จัดการเลือกตั้งโดยไวหลังจากจุดเริ่มต้นของ
การเปลี่ยนผ่าน เกาหลีใต้ และ อาร์เจนตินา จัดเลือกตั้งภายใน 6 เดือน ตูนีเซีย 10 เดือน อินโดนีเซีย
483
Democracy Reporting International, Paths to Democracy in Europe 1974-1991: An Overview (Berlin and Lisboa:
Instituto Português de Relações Internacionais, 2011).