Page 42 - kpiebook62016
P. 42

25







                       ก าหนดภาระหน้าที่ของระบบการเมือง การกระจายอ านาจ การสร้างกลไกประชาธิปไตยทางตรง การ
                                                                                               59
                       ปฏิรูประบบศาลยุติธรรม การบรรเทาความยากจน และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

                              ส าหรับเงื่อนไขในการจรรโลงประชาธิปไตย ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) เงื่อนไขในทาง

                       พฤติกรรม กล่าวคือ กลุ่มการเมืองที่ส าคัญไม่พยายามบรรลุเป้าหมายของตนโดยการสร้างระบบการ

                       ปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือส่งเสริมความรุนแรงทั้งภายในและภายนอกเพื่อแยกตัวออกจาก
                       รัฐ 2) เงื่อนไขในทางความคิด นั่นคือประชาชนส่วนใหญ่ แม้จะประสบสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและ

                       การเมือง ยังคงเชื่อในกระบวนการประชาธิปไตยว่าจะแก้ไขปัญหาได้ และ 3) เงื่อนไขในทางกฎหมาย

                       โดยที่ตัวแสดงในระบบการเมืองคุ้นเคยกับการแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิถีทางแห่งประชาธิปไตย และไม่

                       ท าลายปทัสถานเหล่านี้ ความยึดมั่นอย่างมั่นคงต่อประชาธิปไตย จะท าให้ประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่ง

                                                                                    60
                       ที่เป็นอยู่ประจ า และหยั่งรากลึกในสังคม ในสถาบันและแม้แต่ในชีวิตจิตใจ  และที่ส าคัญ การหล่อเลี้ยง
                       ประชาธิปไตยให้เติบโตจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชนชั้นน า สถาบันการเมืองหลัก เช่น พรรคการเมือง กลุ่ม

                       ผลประโยชน์ กองทัพ ตลอดจนกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม และมวลชน เชื่อและศรัทธาในความชอบธรรม

                       ของระบอบประชาธิปไตย และมีพฤติกรรมที่ยอมรับและยึดถือในวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
                                                                                                 61

                              พฤติกรรมที่ยอมรับและยึดถือในวิถีทางประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าท า ดูหรูหราเมื่ออยู่

                       บนกระดาษ แต่หากต้องลงมือปฎิบัติอาจส่งผลตรงข้ามที่คาดหวังได้ ความย้อนแย้งที่ประชาธิปไตยมี
                       พลังทั้งเสริมสร้างและท าลายล้างตัวเองจากภายในได้ ท าให้เกิดแนวคิด “สิทธิอ านาจอันชอบธรรมใน

                       การปกป้องประชาธิปไตย” (Militant democracy) หรือการสร้างเกราะป้องกันประชาธิปไตย ซึ่งได้รับ

                       บทเรียนมาจากยุค Weimar  Republic เยอรมนี ที่ความพยายามสถาปนาประชาธิปไตย ด้วยการ

                       รักษาหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมกันในการแสดงออกและการอดทนอดกลั้นให้ทุก
                       อุดมการณ์ได้มีส่วนร่วมทางการเมือง อนุญาตให้พรรคการเมืองซึ่งมีพฤติกรรมบ่อนท าลาย

                       ประชาธิปไตยสามารถจัดตั้งและด าเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ จนในที่สุดน ามาสู่การครองอ านาจ




                       59   Andreas  Schedler,  “What  is  Democratic  Consolidation?,”  Journal  of  Democracy  vol.  9,  no.2  (April  1998):  91-107,
                       DOI.10.1353/jod.1998.0030.
                       60  Juan J. Linz and Alfred Stepan, “Toward consolidated democracies,” in Larry Diamond and Marc F. Plattner (eds.), op.
                       cit., pp. 93-95.
                       61
                          Larry  Diamond,  Developing  democracy: Toward  consolidation (Baltimore,  Maryland: The  Johns  Hopkins  University  Press,
                       1999), p. 69.
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47