Page 74 - kpiebook62016
P. 74

57






                                                                      158
                       พร้อมทั้งมีการจัดตั้งสหภาพขึ้นใหม่กว่า 1,200 แห่ง   อย่างไรก็ดี การจัดตั้งสหภาพแรงงาน
                       นอกเหนือจากสมาพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลี (Federation of Korea Trade Union) ซึ่งมีสายสัมพันธ์

                                                                        160
                       กับรัฐบาลทหาร  ยังคงผิดกฎหมายจนถึง ค.ศ. 2002  ใน ค.ศ. 1995 ได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์
                                     159
                       สหภาพแรงงานเกาหลี (Korean Confederation of Trade Union) ขึ้นเป็นสมาพันธ์ที่ยังไม่มีสถานะ

                       เป็นสหภาพแรงงานโดยสมบูรณ์ แต่มีสมาชิกกว่า 400,000 คน กรรมการของสมาพันธ์ดังกล่าวได้ถูก
                       จับกุมทันทีที่มีการจัดตั้งสมาพันธ์ขึ้น จนกระทั่งเมื่อประธานาธิบดีคิม แด-จุง เข้ารับต าแหน่งข้อห้าม

                                                               161
                       ไม่ให้สมาพันธ์ท ากิจกรรมจึงได้รับการผ่อนคลาย

                              การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากการ

                       ควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาล และฐานสนับสนุนที่ลดลง โดยเฉพาะจากชนชั้นกลางที่ต้องการ

                                                162
                       ปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป  วิกฤติเศรษฐกิจใน ค.ศ. 1997  ท าให้ผู้ใช้แรงงานบางส่วนยินดี
                       ประนีประนอมกับนายจ้างเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ทั้งหมดนี้ ท าให้ขบวนการแรงงานสูญเสีย

                                              163
                       อ านาจในการต่อรองลงมาก

                              4. กลุ่มธุรกิจ


                              นโยบายให้ภาคธุรกิจขับเคลื่อนประเทศตลอดทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ส่งผลให้เศรษฐกิจ
                       ของเกาหลีใต้เติบโตอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลได้เอื้อประโยชน์ให้แก่การเติบโตของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

                       (conglomerate  –  chaebol) ทั้งในทางภาษี การอนุมัติเงินกู้ การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ รวมถึงการ

                       ควบคุมระดับค่าแรง การเข้าอุปถัมภ์กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อแลกกับผลประโยชน์ตอบแทน ใน

                       ทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลได้ร้องขอการสนับสนุนทางการเงินจากภาคธุรกิจอย่างเปิดเผย เพื่อแลกกับ











                       158  Ibid., p. 359.
                       159  John Minns, ‚The Labour Movement in South Korea,‛ Labour History no. 81 (November 2001): 180.
                       160  Olli Hellmann, op. cit., p. 38.
                       161  John Minns, op. cit., p. 190.
                       162
                         Ibid.
                       163  Hagen Koo, ‚Endgendering Civil Society: the role of the labor movement,‛ in Charles K. Armstrong (ed.), op. cit., pp. 89–90.
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79